รู้จักแอร์ชิลเลอร์ ใช้ทำอะไรหนอ?
วันนี้ เราจะไม่พูดถึงแอร์ทั่วไปเครื่องเราจะพักเรื่องของเครื่องปรับอากาศ AC ง่ายๆ ไปก่อน แต่มาทำความรู้จักกับแอร์ชิลเลอร์ ซึ่งเป็นเครื่องทำความเย็นขนาดใหญ่ ไปจนถึงขนาดปานกลาง ซึ่งหลายคนอาจจะยังเข้าใจผิดอยู่ว่าแอร์ชิลเลอร์คือยี่ห้อหรือบางคนคิดว่าเป็นการใช้เรียกเครื่องปรับอากาศทั่วไปที่มีขนาดใหญ่ แต่แท้จริงและระบบการให้ความเย็นของแอร์วิลเลอร์ รวมถึงฟังก์ชั่นต่างๆ ข้อดีข้อเสีย ก็แตกต่างกับแอร์ทั่วไปอยู่เยอะพอสมควร... จะรอช้ากันอยู่ทำไม มาเรียนรู้และเข้าสู่โลกของชิลเลอร์กันเถอะ!
แอร์ชิลเลอร์ 101
แอร์ชิลเลอร์หรือเครื่องทำความเย็นระบบใช้น้ำหล่อเย็น มีทั้งขนาดใหญ่และเล็ก แต่ส่วนมากเราจะเห็นระบบนี้ใช้อยู่ในโรงงาน จึงมีขนาดใหญ่และดูซับซ้อน
วิธีการทำงานของแอร์ชิลเลอร์
ทำงานโดยผลิตน้ำเย็นหรือปรับอุณหภูมิน้ำเย็นและส่งไปยังเครื่องปรับอากาศที่มีอยู่ในห้องต่างๆ ของอาคารแต่ละอาคาร หลักการทำงานของแอร์ชิลเลอร์คือ จะนำสารทำความเย็น ซึ่งจะอยู่ในรูปแบบของก๊าซเย็นความดันต่ำที่มีสภาวะไออิ่มตัวมาอัดอยู่ในคอมเพรสเซอร์ จากนั้นสารทำความเย็นจะถูกอัดโดยเครื่องควบแน่น (Condenser)เพื่อถ่ายเทความร้อนออกทำให้สารทำความเย็นเปลี่ยนสถานะของเหลวอิ่มตัวที่มีความดันสูง จากนั้นของเหลวอิ่มตัวความดันสูงจะเคลื่อนที่ผ่านอุปกรณ์ขยายตัว หรืออุปกรณ์ลดแรงดัน เพื่อทำให้สารความเย็นเปลี่ยนสถานะจากก๊าซเป็นของเหลว ซึ่งวงจรนี้จะเกิดขึ้นซ้ำๆ ขึ้นอยู่กับการวางท่อลำเลียงสารความเย็น และขนาดของแอร์ชิลเลอร์ โดยสุดท้ายจะต้องผ่านเข้าไปในเครื่องระเหย (Evaporator) เผื่อออกมาเป็นไอเย็นที่ทำให้อุณหภูมิห้องเปลี่ยน และเย็นขึ้น
หลายคนอ่านถึงตรงนี้อาจยิ่งงงมากกว่าเดิม โดยเฉพาะคุณๆ ที่ไม่ได้จบจากสายวิทย์ จึงขออธิบายง่ายๆ นะครับ ให้เข้าใจเลยว่าแอร์ชิลเลอร์ทำงานโดยการสร้างวงจรทำความเย็นที่จะเปลี่ยนสถานะไปเรื่อยๆ ระหว่างก๊าซ ของเหลว และไอระเหย โดยผ่านเครื่องจักรกลต่างๆ ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนสถานะนั้น
ชิ้นส่วนสำคัญของแอร์ชิลเลอร์
คอมเพรสเซอร์ ( Compressor ) เป็นอุปกรณ์ที่แอร์ทั่วไปก็มี ทำหน้าที่ดูดและส่งเพิ่มแรงดันให้กับสารทำความเย็น โดยกจะดูดสารทำความเย็นเพื่อดำเนินกระบวนการต่างๆ ต่อไปนั่นเองครับ
คอนเดนเซอร์ ( Condenser ) หรือชุด ระบายความร้อน และ ควบแน่น คือ อุปกรณ์ที่ใช้ระบายความร้อนให้กับสารทำความเย็นที่ถูกส่งมาจาก ทำหน้าที่เปลี่ยนสถานะของสารทำความเย็นจากแก๊ซควบแน่นกลายเป็นของเหลวไหลเวียนขับเคลื่อนแอร์ชิลเลอร์นนั่นเอง
อุปกรณ์ลดแรงดัน (Expansion Valve) คือ อุปกรณ์ที่ควบคุมปริมาณและแรงดันของสารทำความเย็นที่ ให้เปลี่ยนสถานะ และ เกิดความเย็นขึ้น หรือพูดอีกรูปแบบหนึ่งคือเป็นผู้ช่วยของคอนเดนเซอร์อีกที
ชุด อีเวปโปเรเตอร์ ( evaporator ) มีหน้าที่ถ่ายเทความเย็นของสารทำความเย็นออกและเปลี่ยนสถานะสารทำความเย็นให้เป็นไออีกครั้ง โดยการนำความร้อนจากภายนอกมาแลกเปลี่ยน
ประเภทระบบทำความเย็นของแอร์ชิลเลอร์
ซึ่งนอกจากระบบจะมีการทำงานที่ซับซ้อน การทำงานยังมีหลายประเภทหลายรูปแบบอีกด้วย โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 แบบดังนี้
ระบายความร้อนด้วยอากาศ (Air Cooled Water Chiller)
คือใช้ลม หรืออากาศเพื่อขับเคลื่อนความเย็นให้ไหลเวียนภายในระบบนั่นเอง โดยปกติขนาดการทำความเย็นจะต้องไม่เกิน 500 ตัน และเหมาะสำหรับพื้นที่ปรับอากาศที่มีข้อจำกัดของพื้นที่ติดตั้ง
ระบายความร้อนด้วยน้ำ (Water Cooled Water Chiller)
แน่นอนว่าตามชื่อ คือใช้น้ำในการทำงาน เปลี่ยนสถานะไปเรื่อยๆ โดยจะสามารถทำความเย็นได้สูงและดีกว่าแบบอากาศ แต่ราคาค่าใช้จ่าย และการดูแลรักษาก็สูงและยากกว่าเช่นกัน ฉะนั้นระบบแอร์ชิลเลอร์แบบระบายความร้อนด้วยน้ำจึงมีไว้สำหรับการใช้งานในโรงงานใหญ่ๆ ที่ต้องอาศัยระบบทำความเย็นสูงที่มีเสถียรภาพ
ข้อดี
fa-smile-oแอร์ชิลเลอร์ไม่ต้องอาศัยสาร CFC ในการทำความเย็น เพราะใช้ระบบน้ำ หรืออากาศเย็นไหลเวียนไปเรื่อยๆ โดยสาร CFC ถือเป็นสารที่ทำลายชั้นบรรยากาศโลกอย่างมาก จึงนับว่าดีต่อสภาพแวดล้อม
fa-smile-oเหมาะกับการใช้งานในโรงงานใหญ่ๆ ที่ต้องการความเย็นสูงและต่อเนื่อง
ข้อเสีย
fa-frown-oไม่เหมาะกับการใช้ในบ้าน ด้วยความที่ต้องทำระบบวางท่อต่างๆ มากมาย
fa-frown-oควบคุมอุณหภูมิค่อนข้างยาก เพราะต้องไปปรับที่การทำงานของตัวคอมเพรสเซอร์ คอนเดนเซอร์ ต่างๆ เลย เรียกง่ายๆ คือต้องปรับทั้งระบบใหม่ ซึ่งยึ่งยากกว่าการกดปุ่มปรับแอร์แบบที่บ้านเรามากๆ
fa-frown-oมีรูปร่างหน้าตาดีไซน์ที่ไม่สวยงาม
fa-frown-oเสียงดัง อึกทึกโครมคราม
fa-frown-oเสียทีซ่อมยาก ค่าใช้จ่ายสูง
แค่นี้ก็รู้จักแอร์ชิลเลอร์กันแล้วนะครับ สำหรับใครที่อยากได้แอร์ใช้ในอุตสาหกรรม หรือใช้เชิงพาณิชย์ที่ต้องเปิดแอร์นานๆ ในสถานที่ที่ใหญ่ๆ ลองๆแอบดูแอร์ชิลเลอร์เป็นหนึ่งในตัวเลือกของคุณๆ อยู่ด้วยก็ได้นะครับ นี่คือทางเลือกที่คุณสามารถเลือกซื้อได้
ยี่ห้อ | รุ่น | ขนาด BTU/hr | ราคา (เฉพาะเครื่อง) |
Trane | CGAT Series | 65,200 – 214,900 | 121,000 – 320,900 |
Carrier | 50BF Series | 90,000 – 895,500 | 159,300 – 968,800 |
Star Aire | Raw Series | 60,600 - 550,000 | 92,200 – 462,300 |
Star Aire | OAC Series | 35,300 - 620,000 | 55,400 - 532,700 |
Carrier | 30GSF Series | 17.3T - 45T | 454,100 – 931,300 |
Carrier | 30GTF Series | 15-45 T | 439,000 – 916,200 |