แอร์มิตซูไฟ กระ พริบ 6 ครั้ง

ทำยังไงดีแอร์มิตซูไฟกระพริบ 6 ครั้ง!

 

แอร์มิตซูไฟ กระพริบ 6 ครั้ง

ขอบคุณภาพจาก www.brandbuffet.in.th

 

แง~ จู่ๆ แอร์มิตซูเครื่องโปรดก็มีไฟกระพริบซะงั้น ไม่ใช่แค่ครั้งเดียว แต่มากถึง 6 ครั้ง เป็นเพราะสาเหตุอะไรน้า ใครไม่รู้บ้างขอเสียงหน่อยครับ!  สำหรับใครที่ไม่รู้ว่าทำไมแอร์มิตซูไฟกระพริบมากถึง 6 ครั้ง เป็นเพราะสาเหตุอะไร วันนี้เรามีคำตอบมาใครครับ

ก่อนอื่นเราต้องทราบก่อนว่าการที่ไฟกระพริบเนี่ยเป็นสัญญาณบ่งบอก Error Code อย่างหนึ่งของแอร์มิตซูบิชิ ซึ่งบางครั้งเราก็สามารถแก้ไขเองได้ แต่ในบางกรณีเราก็ไม่โทรเรียกให้ช่างมาดูเช่นกัน ซึ่งสำหรับการสังเกตก็ไม่ยากอย่างที่คิดเลยครับ เพียงแค่เราต้องสังเกตที่ไฟกระพริบบริเวณหน้าเครื่องเป็นหลักครับ โดยหลอดไฟที่ใช้แสดง Error Code จะใช้อยู่เพียง 2 ดวงคือ Run และ Timer เท่านั้นครับ จังหวะการกระพริบของไฟทั้งสองดวง ที่ต่างกันจะแสดงความผิดปกติของเครื่องปรับอากาศที่ต่างไป โดยการนับจำนวนครั้งของไฟกระพริบ จะต้องนับให้ครบรอบของมัน (เราไม่ได้บอกแค่กรณีแอร์มิตซูไฟกระพริบ 6 ครั้ง เราจะบอกคุณทุก Error Code เลยครับ )
สัญญาณไฟกระพริบ Mitsubishi

รุ่น SRK09xx SRK50A SRK56A

สัญญาณไฟ อุปกรณ์ที่ต้องตรวจสอบ (เสีย)
Timer ค้าง Run กระพริบ 1 เซนเซอร์วัดอุณหภูมิที่คอยล์เย็น (กระเปาะแนบคอยล์)
Timer ค้าง Run กระพริบ 2 เซนเซอร์วัดอุณหภูมิลมกลับ (เซนเซอร์หัวไม้ขีด)
Timer ค้าง Run กระพริบ 6 มอเตอร์พัดลม Indoor เสีย หรือ แผงวงจรเสีย
Timer กระพริบ 5 Run ค้าง คอมเพรสเซอร์, คาปาซิเตอร์, สารทําความเย็นไม่เพียงพอ

รุ่นSRK10

สัญญาณไฟ อุปกรณ์ที่ต้องตรวจสอบ (เสีย)
Timer ค้าง Run กระพริบ 1 เซนเซอร์วัดอุณหภูมิที่คอยล์เย็น
Timer ค้าง Run กระพริบ 2 เซนเซอร์วัดอุณหภูมิลมกลับ
Timer ค้าง Run กระพริบ 6 มอเตอร์พัดลม Indoor เสีย หรือแผงวงจรเสีย
Timer กระพริบ 2 Run ค้าง คอมเพรสเซอร์, คาปาซิเตอร์, สารทําความเย็นไม่เพียงพอ

รุ่นSRK19

สัญญาณไฟ อุปกรณ์ที่ต้องตรวจสอบ (เสีย)
Timer ค้าง Run กระพริบ 1 เซนเซอร์วัดอุณหภูมิที่คอยล์เย็น
Timer ค้าง Run กระพริบ 2 เซนเซอร์วัดอุณหภูมิลมกลับ
Timer ค้าง Run กระพริบ 6 มอเตอร์พัดลม Indoor เสีย หรือแผงวงจรเสีย
Timer กระพริบ 2 Run ค้าง คอมเพรสเซอร์,เซนเซอร์ที่ท่อดิสชาร์จเสีย
Timer กระพริบ 5 Run ค้าง สารทําความเย็นนอ้ย,เซนเซอร์ที่ท่อดิสชาร์จเสีย, เซอร์วิสวาว์ลปิด
Timer กระพริบ 6 Run ค้าง แผง power supply เสีย, สายสัญญาณเสีย,แผงวงจร Indoorหรือ Outdoor เสีย
Timer กระพริบ 1 Run ตลอด เซนเซอร์วัดอุณหภูมิ Outdoor เสีย
Timer กระพริบ 2 Run ตลอด เซนเซอร์วัดอุณหภูมิที่แผงคอนเดนเซอร์เสีย
Timer กระพริบ 4 Run ตลอด เซนเซอร์ที่ท่อดิสชาร์จเสีย

รุ่น SRK25GZ-L1 และ SRK35GZ-L1

สัญญาณไฟ อุปกรณ์ที่ต้องตรวจสอบ (เสีย)
Timer ค้าง Run กระพริบ 1 ต่อขั้วสายเซ็นเซอร์ , ต่อขั้วสายเซ็นเซอร์ ,แผงควบคุม Indoor
Timer ค้าง Run กระพริบ 2 เซนเซอร์วัดอุณหภูมิห้อง
Timer ค้าง Run กระพริบ 5 แผงควบคุม Outdoor , หม้อแปลงแรงดันไฟฟ้า
Timer ค้าง Run กระพริบ 6 มอเตอร์พัดลม ,แผงควบคุม Outdoor 
Timer กระพริบ 1 Run ค้าง คอมเพรสเซอร์,เพาเวอร์ทรานซิสเตอร์
Timer กระพริบ 2 Run ค้าง สายไฟขั้วคอมเพรสเซอร์, แผงควบคุม Outdoor
Timer กระพริบ 3 Run ค้าง  คอมเพรสเซอร์ , น้ำหนักเกิน
Timer กระพริบ 4 Run ค้าง เพาเวอร์ทรานซิสเตอร์
Timer กระพริบ 5 Run ค้าง เซ็นเซอร์ดิสชาร์จ , ระบบน้ำยา ,  คอมเพรสเซอร์
Timer กระพริบ 6 Run ค้าง สายสัญญาณ
Timer กระพริบ 1  Run ตลอด เซนเซอร์วัดอุณหภูมิ Outdoor เสีย
Timer กระพริบ 2 Run ตลอด เซนเซอร์วัดอุณหภูมิ Outdoor เสีย
Timer กระพริบ 4 Run ตลอด เซนเซอร์วัดอุณหภูมิ Outdoor เสีย

ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.mitsuheavythai.com/th/

และสำหรับผู้ใช้แอร์มิตซูท่านไหนที่ไม่ได้เจอไฟกระพริบแค่ 6 ครั้ง สามารถเข้าไปตรวจสอบหรือสอบถามได้ที่ https://www.mitsuheavythai.com/th/error-code.php  นะครับ เพื่อความสะดวกรวดเร็ว ไม่ต้องนั่งพิมพ์ค้นหาจาก Google ให้เสียเวลา เป็นอย่างไรกันบ้างครั้ง พอจะได้คำตอบกันว่าทำไมแอร์มิตซูไฟกระพริบ 6 ครั้ง หรือน้อยกว่านั้น  และสำหรับเพื่อนๆ ที่กังวลว่าจะแอร์ที่บ้านจะเกิดปัญหาตามข้างต้น ก็อย่าลืมดูแลรักษาแอร์กันให้ดีๆ นะครับ วิธีการก็ไม่ยากเลย เพียงแค่ดูแลบำรุงรักษาแอร์อย่างสม่ำเสมอ โดยมีวิธีการดังนี้
วิธีการดูแลแอร์บ้าน

 

แอร์มิตซูไฟ กระพริบ 6 ครั้ง

 

  • ทำความสะอาดแผงท่อระบายความร้อน ด้วยการใช้เแปรงนิ่มๆ และใช้น้ำฉีด โดยให้ทำความสะอาดทุก 6 เดือน เพื่อให้เครื่องสามารถระบายความร้อนภายในห้องออกไปยังอากาศภายนอกได้ดี
  • ทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศทุก 2 สัปดาห์ เพื่อให้เครื่องจ่ายความเย็นได้อย่างเต็มที่
  • ทำความสะอาดแผงท่อทำความเย็นทุก 6 เดือน โดยให้ใช้แปรงนิ่มๆ น้ำสะอาดผสมสบู่เหลว ค่อยๆ แปรง
  • ทำความสะอาดพัดลมส่งลมเย็นทุก 6 เดือน ด้วยแปรงขนาดเล็ก เพื่อขจัดฝุ่นที่จับกันเป็นแผ่นแข็งติดอยู่ตามซี่ใบพัด เ
  • มื่อแอร์ไม่เย็น ให้ทำการตรวจสอบ หากเกิดจากสารทำความเย็นรั่วไหล ให้รีบหารอยรั่วและแก้ไขโดยเร็ว
  • อย่าให้เกิดการฉีกขาดของฉนวนหุ้มท่อสารทำความเย็น ดังนั้นจึงควรตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ
  • ให้ช่างผู้ชำนาญช่วยตรวจสอบซ่อมแซมสภาพเครื่องปรับอากาศอย่างน้อยปีละ 1-2 ครั้ง

 

บทความแนะนำ