รวมมิตรสิ่งที่ไม่ควรทำหากไม่อยากให้ตู้เย็นพังไว
นอนได้ไหม!? ไม่ละลายน้ำแข็งได้หรือเปล่า!?
ตู้เย็น... เป็นหนึ่งในเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากกับทุกครัวเรือน เพราะตู้เย็นนั้นเป็นอุปกรณ์ที่มีประโยชน์อย่างหลากหลาย โดยเฉพาะในเรื่องของการทำความเย็นเพื่อช่วยถนอมความสดของผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ ในขณะเดียวกันก็ช่วยยืดอายุของวัตถุดิบเหล่านี้ให้มีความยาวนานมากขึ้นกว่าเดิม แต่ในขณะเดียวกันการใช้งานตู้เย็นเองก็มีข้อควรระมัดระวังหลายประการเช่นกัน โดยเฉพาะคำถามว่าตู้เย็นนอนได้ไหม!? ที่มักเกิดขึ้นบ่อยเมื่อมีการขนย้ายตู้เย็นเกิดขึ้น แล้วจำเป็นที่จะต้องนอน ต้องตะแคงตู้เย็นเป็นระยะเวลานานๆ เพื่อให้สามารถทำการเคลื่อนย้ายได้อย่างสะดวกมากขึ้น ถ้าหากใครอยากรู้คำตอบของคำถามว่าตู้เย็นนอนได้ไหม!? สามารถทำการติดตามอ่านได้จากบทความชิ้นนี้กันได้เลย...
ตู้เย็นนอนในขณะขนย้ายได้ไหม!?
หลายครั้งที่การขนย้ายตู้เย็นผ่านสถานที่ที่ไม่เอื้ออำนวย ไม่ว่าจะเป็นประตูห้องพักที่แคบจนเกินไป บันได ทางเดิน ลิฟต์ที่มีขนาดเล็กจนเกินไป รวมไปถึงรถที่นำมาใช้ในการขนย้ายมีขนาดที่ไม่เหมาะสม ทำให้จำเป็นต้องนอนตู้เย็น หรือตะแคงข้างของตู้เย็นเพื่อให้การขนย้ายสำเร็จ แต่ถ้าหากถามว่าตู้เย็นนอนได้ไหม ต้องบอกว่าเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง เพราะจะทำให้น้ำยาคอมเพรสเซอร์เคลื่อนตัวไหลออกมา จนทำให้ระบบภายในของตู้เย็นจากการนอนเกิดความเสียหาย ถ้าหากจำเป็นที่จะต้องเอียงตู้เย็นจริงๆ ขอแนะนำว่าไม่ควรมีระดับของการเอียงเกินกว่า 40 องศา
ถ้าหากนอนตู้เย็นขณะขนย้ายไปแล้ว ควรทำอย่างไรบ้าง!?
เพื่อเป็นการช่วยลดโอกาสที่อุปกรณ์ภายในของตู้เย็นจะเกิดความเสียหายให้น้อยลงหลังจากที่ทำการเคลื่อนย้ายด้วยนอนตู้เย็น หลังจากที่ทำการติดตั้งตู้เย็นเอาไว้ในพื้นที่ที่ต้องการแล้วยังไม่ควรเสียบปลั๊กใช้งานตู้เย็นในทันที เนื้องจากน้ำยาของคอมเพรสเอซอร์ยังไม่กลับมาอยู่ในสภาวะเสถียรนั่นเอง ควรถอดปลั๊กพักเครื่องเอาไว้ก่อนอย่างน้อย 48 ชั่วโมง แล้วจึงค่อยทำการเสียบปลั๊กเปิดใช้งานใหม่อีกครั้ง ถ้าหากปล่อยทิ้งเอาไว้สัก 3-4 ชม. แต่ปรากฏว่าไม่เย็นอย่างที่เคยอาจหมายความว่าน้ำยาของตู้เย็นในขณะที่นอนขนย้ายมาเกิดการรั่วไหลออกไปสัมผัสกับอุปกรณ์ภายนอก สำหรับการแก้ไขจำเป็นต้องส่งให้ช่างผู้เชี่ยวชาญทำการซ่อมแซมโดยไล่ระบบใหม่ทั้งหมดนั่นเอง
ข้อที่ควรให้ความระมัดระวังถ้าไม่อยากให้ตู้เย็นพังไว!
นอกจากการนอนตู้เย็นในขณะที่ทำการขนย้ายแล้ว ยังมีข้อพึงระวังอีกหลายประการที่ไม่ควรมองข้าม เพื่อช่วยทำให้สามารถใช้งานตู้เย็นได้อย่างยาวนาน ปราศจากปัญหาชำรุดกวนใจ ดังต่อไปนี้
ไม่ควรตั้งตู้เย็นชิดผนังและเพดานมากจนเกินไป
การตั้งตู้เย็นชิดกับผนังหรือเพดานมากไปจะทำให้การระบายความร้อนจากการทำงานได้ไม่ดี ส่งผลให้ตู้เย็นเกิดการชำรุดได้อย่างง่ายดายมากขึ้นกว่าเดิม
ไม่ควรแช่อาหารที่ยังร้อนอยู่ในตู้เย็นทันที
การนำอาหารที่ยังคงมีความร้อนใส่ในตู้เย็นจะทำให้ระบบทำความเย็นทำงานหนักมากขึ้น นอกจากนี้ยังทำให้ภาชนะอย่างเช่นชั้นวางภายในเกิดการเสื่อมสภาพอย่างรวดเร็วมากขึ้นอีกด้วย
ไม่ควรติดตั้งตู้เย็นในที่ที่มีความร้อนสูง
ควรหลีกเลี่ยงการตั้งตู้เย็นไว้ใกล้กับแหล่งกำเนิดความร้อน หรือบริเวณที่มีแสงแดดส่องกระทบโดยตรง เพราะจะทำให้ตู้เย็นทำงานหนักขึ้นในการระบายอากาศ และวัสดุภายนอกเสื่อมสภาพรวดเร็วขึ้น
ไม่ควรตั้งอุณหภูมิของตู้เย็นสูงหรือต่ำมากจนเกินไป
- ช่องแช่เย็น อุณหภูมิที่เหมาะสมควรอยู่ที่ระหว่าง 0-4 องศา
- ช่องแช่แข็ง อุณหภูมิที่เหมาะสมควรอยู่ที่ -18 องศา
หากการตั้งอุณหภูมิไม่เหมาะสมนอกจากจะไม่สามารถทำการคงคุณค่าด้านอาหาร และความสดเอาไว้อย่างเหมาะสมแล้ว การตั้งอุณหภูมิที่สูงมากจนเกินไปก็อาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาเชื้อรา เชื้อแบคทีเรียในตู้เย็นขึ้นได้อีกด้วย
ไม่ควรเสียบปลั๊กตู้เย็นร่วมกับเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น
เนื่องจากตู้เย็นค่อนข้างใช้ไฟฟ้าจำนวนมาก การเสียอุปกรณ์ร่วมกันอาจทำให้เกิดปัญหาการแย่งกำลังไฟฟ้ากันจนทำให้ตู้เย็นไม่ได้รับไฟฟ้าในจำนวนที่เหมาะสม
ไม่ควรเปิดประตูตู้เย็นทิ้งไว้เป็นเวลานาน
เพราะจะทำให้ตัวเครื่องเกิดการทำงานหนักขึ้น เพื่อเร่งความเย็นภายในให้มีความเหมาะสม
ไม่ควรละเลยการละลายน้ำแข็ง
หากมีน้ำแข็งเกาะอยู่ในช่องแช่แข็งเป็นจำนวนมากจะส่งผลทำให้คอมเพรสเซอร์ทำงานหนักมากกว่าปกติ ทำให้อายุการใช้งานของตู้เย็นสั้นลงเป็นอย่างมาก
ไม่ควรละเลยการทำความสะอาด
คราบสกปรก เป็นแหล่งสำคัญของเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อรา ที่จะทำให้ตู้เย็นเกิดการเสื่อมสภาพอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะบริเวณคอมเพรสเซอร์ที่ควรต้องทำความสะอาดเอาฝุ่นละออง และสิ่งสกปรกอื่นออกบ้าง เพื่อให้ทำงานระบายความร้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ไม่ควรตั้งตู้เย็นไว้ใกล้แหล่งกำเนิดความชื้น
ความชื้น เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้อุปกรณ์ภายในชำรุด เสียหาย และอาจทำให้เกิดปัญหาไฟฟ้าลัดวงจรได้อีกด้วย