ทีวีสมัยก่อน

วิวัฒนาการน่ารู้ของโทรทัศน์ หรือทีวี

 

ทีวีสมัยก่อน

 

   โทรทัศน์ หรือที่บ้านเราเรียกกันอย่างติดปากว่า “TV” … ย่อมาจากคำว่า Television เป็นหนึ่งในเครื่องใช้ไฟฟ้าสามัญประจำบ้านที่ใช้ในการรับรายการข่าวสารทั้งภาพ และความบันเทิงผ่านภาพและเสียงจากการออกอากาศของรายการที่ส่งมาผ่านสัญญาณโทรทัศน์ เมื่อสัก 20 กว่าปีก่อน คอมพิวเตอร์ยังไม่ได้รับความนิยมมากนักทำให้ทีวีได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เรียกได้ว่าเป็นยุค “ทีวีบูม” เลยทีเดียว แต่ในปัจจุบันเนื่องจากอินเทอร์เน็ต และเครื่องคอมพิวเตอร์วิวัฒนาการอำนวยความสะดวกมากขึ้นทำให้ทีวีสมัยนี้ ได้รับความนิยมน้อยลงเมื่อเทียบกับสมัยก่อนอย่างมาก แต่ทีวีสมัยนี้ก็ยังมีประโยชน์ที่หลากหลายขึ้นจากการปรับตัวตามกระแสความต้องการของผู้บริโภคนั่นเอง เอาล่ะ.. เรามาดูกันดีกว่าว่าวิวัฒนาการของทีวีสมัยก่อน กับทีวีในสมัยนี้มีความแตกต่างกันอย่างไรกันบ้าง!?

 

 

ทีวีในยุคเริ่มต้น : ทีวีขาวดำ

 

 

ทีวีสมัยก่อน

 

ในยุคแรกทีวีสมัยก่อนจะไม่ได้มีภาพให้เห็น แต่จะมีเพียงแค่ “เสียง” ที่เป็นสิ่งบันเทิงเพียงอย่างเดียว บวกเข้ากับจินตนาการของผู้ฟังจนทำให้เกิดภาพในหัวขึ้นมาเพื่อสร้างความเพลิดเพลินให้กับตัวเอง ความบันเทิงของคนสมัยก่อนที่สามารถทำได้คือ การฟัง “วิทยุ” แบบ FM และ AM หรือ “แผ่นเสียง” ที่เรียกได้ว่ามีราคาที่สูงลิบเลยทีเดียว หลังจากนั้นทีวีก็ได้เริ่มวิวัฒนาขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ฟังจนกระทั่งมีภาพให้เห็น แต่เป็นเพียงภาพขาวดำเท่านั้น ในสมัยนั้นจึงมักเรียกทีวีประเภทนี้กันอย่างติดปากว่า “ทีวีขาวดำ” นั่นเอง แถมภาพที่ถูกส่งออกมายังปราศจากความคมชัดอย่างมาก แต่ก็ยังเป็นสิ่งทีดีกว่าการจินตนาการตามเสียงจากวิทยุของคนสมัยก่อนอย่างมากเลยทีเดียว

 

ทีวีในยุคที่สอง : ทีวีสี

 

ทีวีสมัยก่อน

 

ในเวลาต่อมาเข้ามาของ “ทีวีสี” ที่เพิ่มสีสันให้การชมทีวีกลายมาเป็นสิ่งที่ช่วยเพิ่มความบันเทิงให้กับคนในสมัยก่อนเป็นอย่างมาก ด้วยการส่งสัญญาณโทรทัศน์แบบ “อานาล็อค” ที่มีช่องรายการให้เลือกชมมากขึ้น แต่ไม่เกิน 106 ช่องรายการ แต่ด้วยความละเอียดอ่อนของการส่งสัญญาณที่ถูกรบกวนได้ง่ายจากทั้งภายในและภายนอก ทำให้เกิดปัญหาของภาพที่ไม่ค่อยชัดเจน แถมยังมีปัญหาเกิดขึ้นหากสัญญาณเบา แรง หรือผู้รับชมอยู่ห่างจากทีวีมากจนเกินไปอีกด้วย ทำให้ต้องมีผู้ชำนาญการพิเศษมาทำการออกแบบโครงข่ายการออกรายการโทรทัศน์เพื่อแก้ไข หรือลดทอนปัญหาดังกล่าวให้น้อยลง การรับชมทีวีของคนในสมัยก่อนจึงเป็นสิ่งที่มีความท้าทาย และเต็มไปด้วยปัญหาอย่างมากมายเลยทีเดียว

 

ทีวียุคที่สาม : ทีวีดิจิทัล

 

ทีวีสมัยก่อน

 

เมื่อทีวีได้รับความนิยมมากขึ้นจนกระทั่งกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของทุกครอบครัว การแข่งขันพัฒนาทีวีจึงเกิดขึ้นอย่างมาก พร้อมกับทำการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากทีวีในสมัยยุคอานาล็อค กลายเป็นระบบทีวีดิจิทัล (Digital TV) กลายเป็นทีวีที่มีความคมชัดมากขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งในปัจจุบันสามารถส่งสัญญาณภาพที่มีความคมชัดได้ในระดับ 4K เลยทีเดียว ในขณะเดียวกันก็ลดทอนปัญหาการรบกวนสัญญาณให้น้อยลง จากที่เกิดขึ้นภายในและภายนอกของทีวี นอกจากนี้ยังมีรายการทีวีให้เลือกรับชมเป็นจำนวนมากถึง 600-800 ช่อง แถมยังสามารถคัดกรองรายการที่ต้องการชมให้มีความเหมาะสมกับความต้องการ

 

ทีวียุคที่สี่ : ไอพีทีวี

 

ทีวีสมัยก่อน

 

เป็นยุคที่ทำให้ทีวีมีความแตกต่างจากทีวีสมัยก่อนเป็นอย่างมาก ด้วยการเพิ่มจำนวนช่องของรายการที่สามารถรับชมได้มากขึ้น และยังเปลี่ยนให้ทีวีมีคุณสมบัติในการใช้งานที่มากขึ้นกว่าเดิม สามารถรับชมรายการทีวีได้อย่างคมชัดเท่ากันทุกช่อง ปัญหาสัญญาณรบกวนเองก็ถูกแก้ไขให้น้อยลงเป็นอย่างมาก ในขณะเดียวกันก็มีการเปิดช่องทางให้สื่อประชาสัมพันธ์ และโฆษณาสามารถเขาถึงผู้บริโภคผ่านทางทีวีได้มากขึ้น เช่น การสั่งซื้อสินค้าและบริการผ่านทางโทรทัศน์ได้เลย หรือสามารถใช้เป็นทีวี ในขณะเดียวกันก็สามารถเล่นอินเทอร์เน็ตได้ด้วย เป็นต้น

 

โดยสรุป : ทีวีในสมัยก่อนกับทีวีสมัยนี้ แตกต่างกันอย่างไรบ้าง?

 

ทีวีสมัยก่อน

 

  • ทีวีในสมัยก่อนมีรูปร่างและขนาดที่ใหญ่ น้ำหนักมาก ทำให้เคลื่อนย้ายได้อย่างลำบาก
  • ทีวีในสมัยก่อนความคมชัดน้อย ไม่สามารถดูผ่านอินเทอร์เน็ตได้
  • ทีวีในสมัยก่อนสัญญาณรบกวนสูงทั้งจากภายในและภายนอกของทีวี
  • ทีวีในสมัยก่อนไม่สามารถทัชสกรีนได้ ทำให้ใช้งานไม่สะดวก
  • ทีวีในสมัยก่อนต้องทำการตั้งช่องสัญญาณเอง เพื่อให้ภาพมีความคมชัดมากขึ้น
  • ทีวีสมัยก่อนมีช่องรายการที่สามารถรับชมได้น้อย

 

 

การพัฒนาทีวีจากสมัยก่อนมาจนถึงปัจจุบัน.. เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่ามนุษย์เรามีความพยายามอย่างมากในการเปลี่ยนแปลงการรับความบันเทิงเพื่อแสวงหาความสุขให้กับชีวิตได้อย่างรวดเร็วเป็นอย่างมาก เพราะเพียงแค่ไม่กี่สิบปี ทีวีก็ได้รับการพัฒนาตอบรับความต้องการของผู้ชมได้อย่างยอดเยี่ยม และยังไม่มีทีท่าที่จะหยุดการพัฒนาเลยแม้แต่น้อย...

 

 

บทความแนะนำ