แอร์ เบอร์ 5 แอร์ 1 ตัน กี่ BTU

แอร์ 1 ตัน กับฉลากเบอร์ 5 ช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าได้สักกี่บาทกัน?

 

แอร์ เบอร์ 5 แอร์ 1 ตัน กี่ BTU

“แอร์” หรือ เครื่องปรับอากาศ เป็นหนึ่งในเครื่องใช้ไฟฟ้าสามัญประจำบ้าน ที่ในยุคที่เรียกได้ว่าร้อนจนตับแลบในปัจจุบันเชื่อว่าทุกบ้านต้องมีติดเอาไวสัก 2-3 เครื่อง เพื่อให้เพียงพอกับจำนวนของห้องในบ้าน โดยเฉพาะห้องนอนเพื่อให้นอนหลับสบายตลอดทั้งคืน แต่มีเรื่องพื้นฐานเกี่ยวกับแอร์บางประการที่คนส่วนใหญ่กลับไม่เคยทราบมาก่อนนั่นคือแอร์ขนาดใหญ่กว่า 1 ตัน ว่ามีจำนวน BTU มากน้อยเพียงใด แถมหลายคนยังเชื่ออีกว่าแอร์ 1 ตัน ยิ่ง BTU มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งเปลืองไฟมากขึ้นเท่านั้นถึงแม้แอร์จะมีฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 ก็ตาม ดังนั้น เพื่อเป็นการช่วยไขปริศนาดังกล่าว บทความในวันนี้เลยอยากขอพาคุณผู้อ่านที่กำลังมีความสงสัยอยู่ภายในใจ ไปทำความรู้จักกับแอร์ 1 ตัน ว่ามีจำนวน BTU มากน้อยเพียงใด และฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 ของแอร์ขนาดนี้จะสามารถช่วยลดค่าไฟให้น้อยลงได้จริงหรือเปล่า?
มารู้จักกับแอร์ 1 ตัน กันก่อน

 

แอร์ เบอร์ 5 แอร์ 1 ตัน กี่ BTU

 

BTU หรือ British Thermal Unit เป็นหน่วยวัดความร้อนที่ใช้ในเครื่องปรับอากาศ ซึ่งคำว่า “ตัน” มีความหมายถึง “ตันความเย็น” คือประสิทธิภาพในการทำความเย็น โดยวัดจากการทำให้น้ำกลายเป็นน้ำแข็งปริมาณ 1 ตัน (ประมาณ 2000 ปอนด์) ได้ภายใน 1 วัน ทำให้เป็นที่มาของคำว่า แอร์ 1 ตัน 2 ตัน และ 3 ตัน นั่นเอง
แอร์ 1 ตัน เท่ากับกี่ BTU?

 

แอร์ เบอร์ 5 แอร์ 1 ตัน กี่ BTU

 

โดยพื้นฐานแล้วแอร์ 1 ตัน เท่ากับ 12000 BTU ดังนั้น ถ้าหากแอร์ที่บ้านมีขนาด 3 ตัน ก็หมายความว่าจำนวน BTU ทั้งหมดของแอร์ก็คือ 36000 BTU ส่วนคำว่า
แอร์ 1 ตัน เหมาะกับห้องขนาดเท่าไหร่กันนะ?

 

แอร์ เบอร์ 5 แอร์ 1 ตัน กี่ BTU

 

ในการเลือกแอร์ ควรเลือกให้มีความเหมาะสมกับขนาดของห้องมากที่สุด เพราะถ้าหากแอร์มีจำนวน BTU mมากจนเกินไป คอมเพรสเซอร์แอร์ก็จะทำงานแบบสลับติดดับบ่อย ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดนhอยลงเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ยังทำให้ความชื้นในห้องเพิ่มมากขึ้น และสิ้นเปลืองพลังงานโดยใช่เหตุ ในขณะเดียวกันถ้าจำนวน BTU น้อยจนเกินไป ก็จะทำให้คอมเพรสเซอร์แอร์ทำงานตลอดเวลา เนื่องจากอุณหภูมิของห้องไม่ได้ตามที่ตั้งค่าเอาไว้ ทำให้แอร์ทำงานหนักชำรุดไว และยังสิ้นเปลืองพลังงานอย่างมากเลยทีเดียว

การคำนวณหา BTU ที่เหมาะกับห้องได้จากสูตร : พื้นที่ห้อง (กว้างxยาว)x9ตัวแปร

*ตัวแปรในที่นี้คือปริมาณแสงแดดที่สัมผัสกับห้อง หากห้องไม่ค่อยสัมผัสแสงแดด ใช้ตัวแปร = 700 หากห้องสัมผัสแสงแดดในตอนกลางวันมาก ตัวแปร = 800 และในกรณีที่เพดานของห้องมีความสูงมากกว่า 2.5 เมตร ให้บวกเพิ่ม 5 %

เมื่อทำการคำนวณออกมาแล้วจะพบว่าแอร์ 1 ตันขนาด 12000 BTU จะเหมาะกับห้องมีขนาด 14-18 ตารางเมตร ในห้องที่ไม่โดนแสงแดด และห้องที่โดนแสงแดดขนาด 16-20 ตารางเมตร นั่นเอง...
แอร์เบอร์ 5 แตกต่างจากแอร์ธรรมดาอย่างไร?

 

แอร์ เบอร์ 5 แอร์ 1 ตัน กี่ BTU

 

แอร์เบอร์ 5 เป็นแอร์ที่ได้รับการรับรองจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตว่ามีค่า E.E.R มากกว่า 10.6 ทำให้มีความประหยัดไฟมากกว่าแอร์ธรรมดาทั่วไป และยังได้รับการรับรองจากสำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.) ถึงแม้ว่าแอร์เบอร์ 5 จะมีข้อดีมากมาย แต่ต้องใช้ความระมัดระวังในการใช้งานสักหน่อยด้วยการล้างแอร์บ่อยๆ เพราะมาโดยส่วนใหญ่แล้วแอร์เบอร์ 5 จะถูกออกแบบมาให้มีครีบระบายอากาศที่ถี่ ทำให้เกิดการอุดตันได้อย่างรวดเร็ว
ใช้แอร์ขนาด 1 ตัน ต้องจ่ายค่าไฟฟ้าเท่าไหร่ ฉลากเบอร์ 5 ช่วยได้หรือเปล่า?

 

แอร์ เบอร์ 5 แอร์ 1 ตัน กี่ BTU

 

เป็นเรื่องปกติที่ยิ่งแอร์มีจำนวน BTU ยิ่งมาก ค่าไฟที่จำเป็นต้องจ่ายต่อเดือนก็ต้องมากขึ้นตามไปด้วยเช่นกัน จากการคำนวณคร่าวๆว่าแอร์ 1 ตัน ต้องใช้จำนวนไฟเท่าไหร่ โดยอิงจากการใช้งาน 30 วัน / เดือน และจำนวนชั่วโมงในการใช้ระหว่างแอร์ เบอร์ 4 กับแอร์เบอร์ 5 เพื่อให้เข้าใจจำนวนเงินที่ต้องจ่ายจากการใช้แอร์ มีดังต่อไปนี้

  • แอร์เบอร์ 4 ขนาด 1 ตัน ใช้งาน 24 ชั่วโมง/วัน ต้องเสียค่าไฟฟ้า/เดือน 2277 บาท
  • แอร์ขนาด 5 ขนาด 1 ตัน ใช้งาน 24 ชั่วโมง/วัน ต้องเสียค่าไฟฟ้า/เดือน 2062 บาท

จากค่าใช้จ่ายของที่แตกต่างกันของแอร์ 1 ตัน เบอร์ 4 และเบอร์ 5 จะสามารถเห็นความแตกต่างของการใช้จ่ายค่าไฟฟ้าต่อเดือนที่แตกต่างกันถึง 215 บาท/เดือน เลยทีเดียว นั่นหมายความว่าการเลือกซื้อแอร์ 1 ตัน ขนาด 12000 BTU ที่ประหยัดกว่าต้องเลือกแบบฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 นั่นเอง...

 

แอร์ เบอร์ 5 แอร์ 1 ตัน กี่ BTU

 

หลังจากที่ได้รับทราบข้อเท็จจริงกันไปแล้วว่าแอร์ 1 ตัน มีขนาดกี่ BTU และฉากประหยัดไฟเบอร์ 5 สามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายให้น้อยลงได้อย่างมากมายเพียงใด เชื่อว่าในตอนนี้หลายคนคงสามารถตัดสินใจได้แล้วว่าแอร์ 1 ตัน ขนาด 12000 BTU นั้น มีความเหมาะสมกับห้องพักที่จะช่วยให้คุณเย็นสบาย สดชื่นได้ตลอดทั้งวันหรือไม่!?

บทความแนะนำ