ตู้เย็นกี่วัตต์

เลือกตู้เย็นอย่างไรให้ประหยัดไฟ และเหมาะกับไลฟ์สไตล์ที่สุด!?

ตู้เย็นประหยัดไฟ

 

   ในปัจจุบัน.. ตู้เย็นเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกที่แทรกเข้าไปอยู่ในการดำเนินชีวิตประจำวันจนยากนักที่จะตัดขาดมันออกไปได้ ดังนั้น การเลือกตู้เย็นเป็นไปอย่างคุ้มค่า คุณภาพสมราคา และประหยัดค่าไฟฟ้าในกระเป๋าสตางค์ให้มากที่สุดจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมากเลยทีเดียว แต่ถ้าหากใครกำลังจะซื้อตู้เย็นเครื่องใหม่ หรือซื้อตู้เย็นด้วยตัวเองเป็นครั้งแรก แล้วไม่รู้ว่าควรเลือกตู้เย็นอย่างไรให้ดีนั้น ขอแนะนำให้ลองทำการเลือกโดยอ้างอิงจากคำแนะนำในบทความชิ้นนี้กันได้เลย

 

 

7 เคล็ด(ไม่)ลับ ในเลือกตู้เย็นให้คุ้มค่า สมราคา และประหยัดไฟฟ้า

 

ตู้เย็นประหยัดไฟ

 

1.เลือกตู้เย็นโดยให้ความสำคัญกับผู้ผลิต และรายละเอียดโดยรวม

 

ในปัจจุบันผู้ผลิตตู้เย็นออกมาวางจำหน่ายก็มีให้เลือกกันหลายยี่ห้อ และหลากหลายประเทศมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นจากฝั่งเยอรมัน จีน เกาหลีใต้ หรือแม้แต่ญี่ปุ่น แถมยังแข่งขันกันเข็นรุ่นของตู้เย็นออกมาให้เลือกกันมากมายจนชวนตาลายเลยทีเดียว ดังนั้น เพื่อไม่ให้มึนงงกับรายละเอียดที่มากจนเกินไปเสียก่อน ขอแนะนำว่าควรเลือกตู้เย็นประหยัดไฟฟ้า ที่มีฟังก์ชันและรายละเอียดดังต่อไปนี้

  • ตู้เย็นประหยัดไฟฟ้าควรมีฉนวนกันความร้อนหนาชนิดโฟมอัด เพราะจะช่วยเก็บกักความเย็นได้เป็นอย่างดี
  • ตู้เย็นประหยัดไฟฟ้าควรเลือกที่ใช้ไฟฟ้าแบบ 220-230 โวลต์ ที่เหมาะสมกับกำลังไฟฟ้าในประเทศไทย จึงไม่จำเป็นต้องไปหาตัวแปลงค่าไฟให้ยุ่งยาก ปัญหานี้มักพบในตู้เย็นมือสองจากประเทศญี่ปุ่น ที่มีการใช้กำลังไฟฟ้าที่แตกต่างจากบ้านเรานั่นเอง

 

2.เลือกตู้เย็นประหยัดไฟฟ้า ที่ได้รับการรับรองโดยฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5

 

การเลือกตู้เย็นประหยัดไฟฟ้าที่ดีที่สุด และง่ายดายมากที่สุดก็คือการเลือกตู้เย็นที่ได้รับการรับรองจากฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 เพราะสามารถประหยัดไฟฟ้าได้มากที่สุด สำหรับรายละเอียดของค่าไฟฟ้าของตู้เย็นของฉลากประหยัดไฟแต่ละเบอร์นั้น มีความแตกต่างกัน ดังต่อไปนี้

  • ตู้เย็นที่มีฉลากประหยัดไฟเบอร์ 3 = ใช้ไฟฟ้าประมาณ 332 หน่วย / ปี ค่าไฟฟ้าประมาณ 840 บาท / ปี
  • ตู้เย็นที่มีฉลากประหยัดไฟเบอร์ 4 = ใช้ไฟฟ้าประมาณ 262 หน่วย / ปี ค่าไฟฟ้าประมาณ 644 บาท / ปี
  • ตู้เย็นที่มีฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 = ใช้ไฟฟ้าประมาณ 220 หน่วย / ปี ค่าไฟฟ้าประมาณ 573 บาท / ปี

จากอัตราของค่าไฟฟ้า และหน่วยของไฟฟ้าที่ได้ยกตัวอย่างไปแล้วในตอนต้นจะเห็นได้ว่า ตู้เย็นที่มีฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 นั้น มีความประหยัดมากกว่า คุ้มค่า สมกับราคาที่จ่ายไปในระยะยาวมากกว่าตู้เย็นแบบอื่นอย่างแน่นอน..

 

3.เลือกตู้เย็นให้มีขนาด ความจุ ที่ตอบโจทย์การใช้งานให้มากที่สุด

ตู้เย็นประหยัดไฟ

 

โดยทั่วไปแล้ว ตู้เย็นทุกรุ่นจะมีการระบุความจุในการแช่เย็นอาหารภายในเอาไว้ โดยมีหน่วยเป็น “คิว” หรือ “ลูกบากศ์ฟุต” และ “ลิตร” แต่เชื่อว่าคุณผู้อ่านคงไม่สามารถมองเห็นภาพได้ว่าขนาดของหน่วยวัดดังกล่าวมีค่าเท่ากับปริมาณเท่าใดกันแน่ ดังนั้น เพื่อให้สามารถเข้าใจได้อย่างง่ายดายมากขึ้น ขอแนะนำให้เลือกขนาดความจุ โดยอ้างอิงจากจำนวนของสมาชิกที่ใช้งานตู้เย็นเป็นประจำจะดีกว่า โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

  •             ครอบครัวขนาดเล็ก สมาชิก 1-2 น = ขั้นต่ำคือตู้เย็นขนาด 2.5 คิว
  •             ครอบครัวขนาดกลาง สมาชิก -4 คน = ตู้เย็นที่เหมาะสมคือขนาด 12-18 คิว
  •             ครอบครัวขนาดใหญ่ สมาชิกมากกว่า 5 คน ขึ้นไป = ตู้เย็นที่เหมาะสมคือขนาด 15 คิว ขึ้นไป

 

4.เลือกตู้เย็นจากประเภท ให้เหมาะสมกับการใช้งาน

 

ตู้เย็นในปัจจุบันได้ถูกผลิตออกมาหลายประเภท ทั้งในเรื่องของขนาด และจำนวนของประตู รวมไปถึงรูปแบบในการเปิดปิดของประตูด้วย ดังนั้น การเลือกตู้เย็นให้มีความเหมาะสม จำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงขนาดของพื้นที่ในการจัดวาง รวมไปถึงพื้นที่ว่างในการเปิดประตูใช้งานตู้เย็นในแต่ละครั้งให้มีความสะดวกสบายมากที่สุด โดยตู้เย็นในแต่ละประเภทจะมีความเหมาะสมกับพื้นที่ที่แตกต่างกัน โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

      ตู้เย็นขนาดเล็ก หรือมินิบาร์ : เหมาะกับห้องพัก คอนโด หรือหอพักที่มีขนาดพื้นที่จำกัด

    ตู้เย็นแบบ 1 ประตู : เหมาะกับบ้าน หรือที่พักทั่วไปที่มีพื้นที่ไม่มากนัก

   ตู้เย็นแบบ 2 ประตู : เหมาะกับบ้านที่มีพื้นที่ไม่มากนัก

ตู้เย็นแบบหลายประตู : เหมาะกับบ้านที่มีพื้นที่ค่อนข้างมาก ข้อดีคือการใช้งานค่อนข้างง่าย และหยิบสิ่งของภายในได้สะดวก เพราะมีการแบ่งสัดส่วนพื้นที่ในการแช่เย็นเอาไว้เป็นอย่างดี

  ตู้เย็นแบบประตูซ้อนประตู : เป็นตู้เย็นที่มี 4 ประตู และมีประตูซ้อนเอาไว้ด้านบนอีก 2 ประตู เพื่อช่วยในการกักเก็บความเย็น และช่วยในการเก็บของแช่เย็นขนาดเล็กให้เป็นสัดส่วนดีมากยิ่งขึ้น

 

5.เลือกตู้เย็นประหยัดไฟฟ้า เรื่องราคาก็สำคัญ

ตู้เย็นประหยัดไฟ

 

ราคา เป็นหนึ่งในปัจจัยที่มีอิทธิพลอย่างมากในการเลือกซื้อตู้เย็น ดังนั้น ก่อนทำการตัดสินใจซื้อตู้เย็นเครื่องใหม่ ลองมาทำความรู้จักกับราคาของตู้เย็นในแต่ละประเภทแบบคร่าวๆกันก่อนดีกว่า

      ตู้เย็นขนาดเล็ก หรือมินิบาร์ : ราคาประมาณ 3000 – 6000 บาท

   ตู้เย็นแบบ 1 ประตู : ราคาประมาณ 5000 – 7000 บาท

  ตู้เย็นแบบ 2 ประตู : ราคาประมาณ 6000 – 30000 บาท

    ตู้เย็นแบบหลายประตู : ราคาประมาณ 30000 – 100000 บาท

   ตู้เย็นแบบประตูซ้อนประตู : ราคามากกว่า 100000 บาท ขึ้นไป

 

6.เลือกตู้เย็นโดยอิงจากฟังก์ชันการใช้งานภายในที่เหมาะสม

 

ก่อนทำการซื้อตู้เย็น อย่าลืมทำการเปิดดูภายในตู้เย็น และตรวจสอบฟังก์ชันการทำงาน รวมไปถึงชั้นวางว่าตอบโจทย์ความต้องการหรือเปล่า!? โดยสิ่งที่ควรให้ความสำคัญตรวจสอบ มีดังต่อไปนี้

     ชั้นวาง : ถอดเข้าออกง่ายดายไหม ปรับเปลี่ยนตำแหน่งได้หรือเปล่า แข็งแรงแค่ไหน และทำความสะอาดยากหรือไม่!?

   ช่องแช่เย็น : มีการแยกประเภทให้เหมาะสมกับอาหารที่แช่หรือไม่!?

   ช่องแช่ผักและผลไม้ : มีการควบคุมความชื้น เพื่อคงความสดใหม่ให้กับผักและผลไม้หรือไม่!?

       ชั้นวางสิ่งของข้างบานประตู : มีขนาดของความกว้าง และความสูง ที่เหมาะสมกับการใช้งานหรือไม่!?

 

7.เลือกตู้เย็นโดยให้ความใส่ใจกับฟังก์ชันเสริม

ตู้เย็นประหยัดไฟ

 

ตู้เย็นแต่ละรุ่นจะมีฟังก์ชันเสริมในการทำงานที่ไม่เหมือนกัน อันเป็นจุดเด่นเฉพาะของรุ่น ดังนั้น อย่างไรก็ตามควรทำการเลือกฟังก์ชันเสริมให้มีความเหมาะสมกับการใช้งานของตัวเองให้มากที่สุด โดยในปัจจุบันฟังก์ชันเสริมที่น่าสนใจของตู้เย็นนั้น มีดังต่อไปนี้

  ระบบทำความเย็นแบบคู่ : เป็นการแยกช่องลมเย็นของช่องแช่เย็น และช่องแช่แข็งออกจากกัน ทำให้ความเย็นในเครื่องมีความทั่วถึงทุกส่วนของตู้เย็นมากขึ้น

  ระบบกำจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ : ผ่านการกรองอากาศด้วยคาร์บอน ลดกลิ่นอับ กลิ่นไม่พึงประสงค์ให้น้อยลงได้เป็นอย่างดี

  ควบคุมอุณหภูมิแบบอัจฉริยะ : ตู้เย็นจะทำการตั้งค่าอุณหภูมิตามรูปแบบของอาหารที่แช่อยู่ภายในให้มีความเหมาะสมอยู่เสมอ

     ระบบประหยัดไฟฟ้า : ช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าในแต่ละเดือนให้น้อยลง

ควบคุมและตรวจสอบการทำงานผ่านสมาร์ทโฟน : ช่วยให้ตรวจสอบอุณหภูมิ ความเย็น และสถานะของอาหารภายในตู้เย็นได้แบบเรียลไทม์

 

บทความแนะนำ