บ้านไหนค่าไฟแพง
เป็นเพราะเปิดตู้เย็นและอุปกรณ์ไฟฟ้าเหล่านี้ไว้หรือเปล่า!?
เมื่อบิลค่าไฟฟ้าเดินทางมาถึงในช่วงปลายเดือน.. หลายคนอาจรู้สึกว่ามันช่างแพงมากกว่าปกติเป็นอย่างมากเลยทีเดียว แต่ก่อนที่จะคิดเอาเองว่าค่าไฟฟ้าที่ดูจะสูงจนผิดปกติเหล่านั้นเป็นเพียงสิ่งที่เรามโนขึ้นมาด้วยตัวเอง ขอแนะนำให้ลองมาสำรวจตู้เย็น และอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆในบ้านกันก่อนดีกว่าว่า แต่ละชนิดนั้นมีการกินไฟ เท่าไหร่กัน แล้วถ้าหากทราบแล้วยังคิดว่าค่าไฟฟ้าในมือยังสูงจนผิดปกติ นั่นอาจหมายถึงมีอุปกรณ์บางอย่างชำรุดเสียหาย จนทำให้เกิดปัญหาค่าแพงที่จำเป็นจะต้องได้รับการจัดการแก้ไขอย่างเหมาะสมให้รวดเร็วที่สุดกัน
สูตรในการคำนวณรายจ่ายจากตู้เย็น และอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆว่ากินไฟเท่าไหร่!?
*ค่าไฟฟ้า = จำนวนวัตต์ x ค่าไฟฟ้าต่อหน่วย หารด้วย 1000 = จำนวนเงินบาท / ชั่วโมง
ตัวอย่างในการคำนวณว่าอุปกรณ์ไฟฟ้ากินไฟกี่วัตต์
*ตู้เย็นขนาด 12 คิว กินไฟฟ้าจำนวน 240 วัตต์ / ชั่วโมง และมีค่าไฟฟ้าเท่ากับ 3 บาท / หน่วย
*ตู้เย็นขนาด 12 คิว กินไฟฟ้า = 240x3 หารด้วย 1000 = 0.72 บาท / ชั่วโมง
จะเห็นได้ว่าจำนวนไฟฟ้าของตู้เย็นว่ากินไฟเพียงไม่กี่วัตต์ ไม่กี่หน่วยเท่านั้นต่อชั่วโมง ส่งผลให้ค่าไฟฟ้ารายเดือนแม้จะเกิดขึ้นจากตู้เย็นที่มีขนาดใหญ่ถึง 12 วัตต์ ก็ไม่ทำให้เกิดความสิ้นเปลืองในการใช้งานแต่อย่างใด เมื่อเทียบกับอุปกรณ์ไฟฟ้าประเภทอื่นที่จะขอทำการกล่าวถึงต่อไป
ทราบจำนวน “วัตต์” ของตู้เย็น และเครื่องใช้ไฟฟ้าว่ากินไฟ/ชั่วโมง ดูได้ที่ไหนบ้าง!?
ในส่วนของจำนวนวัตต์ที่ตู้เย็น และอุปกรณ์ไฟฟ้าว่ากินไฟ / ชั่วโมง ว่ากินพลังงานไฟฟ้าจำนวนกี่วัตต์นั้น สามารถสังเกตได้อย่างง่ายดายจากบริเวณด้านหลัง หรือด้านใต้ของอุปกรณ์ไฟฟ้าชิ้นนั้น ที่มักจะมีการระบุจำนวนวัตต์ไฟฟ้าที่ใช้เอาไว้อย่างชัดเจน
ค่าไฟฟ้าสามารถตรวจสอบได้ที่ใดบ้าง!?
สำหรับค่าไฟฟ้า / หน่วย ในปี 2019 นี้ สามารถทำการตรวจสอบอัตราการบริการได้จากเว็บไซต์ของการไฟฟ้าแห่งประเทศไทย หรือจากใบแจ้งหนี้ค่าไฟฟ้าเอง ก็จะมีอัตราค่าให้บริการกำกับเอาไว้เช่นกัน เมื่อทราบจำนวนอัตราการให้บริการแล้ว หลังจากนั้นก็เพียงแค่นำไปทำการคำนวณร่วมกับสูตรในตอนต้น เพียงเท่านี้ก็จะได้ยอดแจ้งหนี้ค่าไฟฟ้าที่ต้องจ่ายในแต่ละเดือนแล้ว
ตู้เย็นและอุปกรณ์ไฟฟ้าในบ้านกินไฟฟ้ากี่วัตต์ และต้องจ่ายค่าไฟฟ้ากี่บาท/ชั่วโมง!?
หลังจากที่ทราบวิธีการสังเกตปริมาณของวัตต์ไฟฟ้าของอุปกรณ์ไฟฟ้ากันไปแล้ว คราวนี้เรามาดูกันดีกว่าว่าอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มักใช้กันบ่อยในครัวเรือน และตู้เย็นนั้นกินไฟฟ้าประมาณกี่วัตต์กัน!?
อุปกรณ์ไฟฟ้า | ขนาด | กินไฟกี่วัตต์ | จำนวนเงิน (บาท/ชั่วโมง) |
พัดลมดูดอากาศ | ใบพัดแบบ 6 นิ้ว | 25 | 0.075 |
พัดลมตั้งโต๊ะ | ใบพัดแบบ 12 นิ้ว | 70 | 0.21 |
ทีวีขาวดำ | 14 นิ้ว | 50 | 0.15 |
ทีวีสี | 14 นิ้ว | 120 | 0.36 |
ทีวีสี | 20 นิ้ว | 200 | 0.60 |
ทีวีสี | 24 นิ้ว | 250 | 0.75 |
เครื่องปรับอากาศ | 1.00 ตัน | 1,450 | 3.35 |
เครื่องปรับอากาศ | 1.50 ตัน | 2,060 | 6.18 |
เครื่องปรับอากาศ | 2.00 ตัน | 3500 | 10.50 |
เครื่องปรับอากาศ | 3.00 ตัน | 5200 | 15.60 |
ตู้เย็น | 4 คิว | 70 | 0.21 |
ตู้เย็น | 6 คิว | 90 | 0.27 |
ตู้เย็น | 12 คิว | 240 | 0.72 |
หม้อหุงข้าวไฟฟ้า | 6 ถ้วย | 500 | 1.50 |
หม้อหุงข้าวไฟฟ้า | 10 ถ้วย | 600 | 1.80 |
เตารีดไฟฟ้า | มาตรฐาน | 1000 | 3.00 |
เครื่องทำน้ำร้อน | เล็ก | 1500 | 4.50 |
เครื่องทำน้ำร้อน | กลาง | 2200 | 6.60 |
เครื่องทำน้ำร้อน | ใหญ่ | 4000 | 12.00 |
เครื่องซักผ้า | มาตรฐาน | 1000 | 3.00 |
เทคนิคการใช้ตู้เย็น และอุปกรณ์ไฟฟ้าให้ประหยัดไฟฟ้ามากที่สุด
1.เลือกใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5
เป็นเรื่องพื้นฐานที่ควรให้ความใส่ใจเป็นอันดับแรกก่อนทำการซื้อตู้เย็น หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ เพราะฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 เป็นสิ่งที่ช่วยการันตีว่าอุปกรณ์ไฟฟ้าชิ้นนั้น ช่วยในการประหยัดพลังงาน และลดค่าใช้จ่ายรายปีให้น้อยลงได้เป็นอย่างมากเลยทีเดียว
2.เลือกจุดวางเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างเหมาะสม
จุดวางในขณะที่อุปกรณ์ไฟฟ้าทำงานเป็นเรื่องที่สำคัญ แต่คนทั่วไปกลับมองข้ามไปอย่างน่าเสียดาย เพราะถ้าหากวางตู้เย็นไว้ในที่ที่ร้อนจัด มีแสงแดดส่องเข้ามากระทบตลอดเวลาตู้เย็นก็ต้องทำงานมากขึ้นเพื่อรักษาความเย็นภายใน ในขณะเดียวกันการระบายความร้อนของเครื่องก็จะด้อยลงตามไปด้วย และถ้าหากวางตู้เย็นไว้ในสถานที่ที่มีความชื้นสูงก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ตู้เย็นเกิดการชำรุดได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้นอีกด้วย
3.หมั่นตรวจสอบสภาพของอุปกรณ์ไฟฟ้าให้มีความพร้อมสมบูรณ์อยู่เสมอ
หากอุปกรณ์ไฟฟ้าเกิดความชำรุด โดยเฉพาะตู้เย็นที่คอมเพรสเซอร์เสียหาย ระบบละลายน้ำแข็งชำรุด หรือขอบยางปิดประตูเสื่อมสภาพจนทำให้ไม่สามารถปิดประตูได้อย่างสนิท สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ตู้เย็นทำงานหนักมากขึ้นโดยไม่จำเป็น ส่งผลให้กินจำนวนไฟฟ้ามากขึ้นกว่าปกติอีกด้วย