ตู้เย็นมินิบาร์มือสอง

บ้านไหนค่าไฟแพง
เป็นเพราะเปิดตู้เย็นและอุปกรณ์ไฟฟ้าเหล่านี้ไว้หรือเปล่า
!?

 

ตู้เย็นกินไฟ เท่าไหร่

 

  เมื่อบิลค่าไฟฟ้าเดินทางมาถึงในช่วงปลายเดือน.. หลายคนอาจรู้สึกว่ามันช่างแพงมากกว่าปกติเป็นอย่างมากเลยทีเดียว แต่ก่อนที่จะคิดเอาเองว่าค่าไฟฟ้าที่ดูจะสูงจนผิดปกติเหล่านั้นเป็นเพียงสิ่งที่เรามโนขึ้นมาด้วยตัวเอง ขอแนะนำให้ลองมาสำรวจตู้เย็น และอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆในบ้านกันก่อนดีกว่าว่า แต่ละชนิดนั้นมีการกินไฟ เท่าไหร่กัน แล้วถ้าหากทราบแล้วยังคิดว่าค่าไฟฟ้าในมือยังสูงจนผิดปกติ นั่นอาจหมายถึงมีอุปกรณ์บางอย่างชำรุดเสียหาย จนทำให้เกิดปัญหาค่าแพงที่จำเป็นจะต้องได้รับการจัดการแก้ไขอย่างเหมาะสมให้รวดเร็วที่สุดกัน

 

 

สูตรในการคำนวณรายจ่ายจากตู้เย็น และอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆว่ากินไฟเท่าไหร่!?

 

*ค่าไฟฟ้า = จำนวนวัตต์ x ค่าไฟฟ้าต่อหน่วย หารด้วย 1000 = จำนวนเงินบาท / ชั่วโมง

 

ตัวอย่างในการคำนวณว่าอุปกรณ์ไฟฟ้ากินไฟกี่วัตต์

ตู้เย็นกินไฟ เท่าไหร่

 

*ตู้เย็นขนาด 12 คิว กินไฟฟ้าจำนวน 240 วัตต์ / ชั่วโมง และมีค่าไฟฟ้าเท่ากับ 3 บาท / หน่วย

*ตู้เย็นขนาด 12 คิว กินไฟฟ้า = 240x3 หารด้วย 1000 = 0.72 บาท / ชั่วโมง

จะเห็นได้ว่าจำนวนไฟฟ้าของตู้เย็นว่ากินไฟเพียงไม่กี่วัตต์ ไม่กี่หน่วยเท่านั้นต่อชั่วโมง ส่งผลให้ค่าไฟฟ้ารายเดือนแม้จะเกิดขึ้นจากตู้เย็นที่มีขนาดใหญ่ถึง 12 วัตต์ ก็ไม่ทำให้เกิดความสิ้นเปลืองในการใช้งานแต่อย่างใด เมื่อเทียบกับอุปกรณ์ไฟฟ้าประเภทอื่นที่จะขอทำการกล่าวถึงต่อไป

 

ทราบจำนวน “วัตต์” ของตู้เย็น และเครื่องใช้ไฟฟ้าว่ากินไฟ/ชั่วโมง ดูได้ที่ไหนบ้าง!?

ตู้เย็นกินไฟ เท่าไหร่

 

ในส่วนของจำนวนวัตต์ที่ตู้เย็น และอุปกรณ์ไฟฟ้าว่ากินไฟ / ชั่วโมง ว่ากินพลังงานไฟฟ้าจำนวนกี่วัตต์นั้น สามารถสังเกตได้อย่างง่ายดายจากบริเวณด้านหลัง หรือด้านใต้ของอุปกรณ์ไฟฟ้าชิ้นนั้น ที่มักจะมีการระบุจำนวนวัตต์ไฟฟ้าที่ใช้เอาไว้อย่างชัดเจน

 

ค่าไฟฟ้าสามารถตรวจสอบได้ที่ใดบ้าง!?

ตู้เย็นกินไฟ เท่าไหร่

 

สำหรับค่าไฟฟ้า / หน่วย ในปี 2019 นี้ สามารถทำการตรวจสอบอัตราการบริการได้จากเว็บไซต์ของการไฟฟ้าแห่งประเทศไทย หรือจากใบแจ้งหนี้ค่าไฟฟ้าเอง ก็จะมีอัตราค่าให้บริการกำกับเอาไว้เช่นกัน เมื่อทราบจำนวนอัตราการให้บริการแล้ว หลังจากนั้นก็เพียงแค่นำไปทำการคำนวณร่วมกับสูตรในตอนต้น เพียงเท่านี้ก็จะได้ยอดแจ้งหนี้ค่าไฟฟ้าที่ต้องจ่ายในแต่ละเดือนแล้ว

 

ตู้เย็นและอุปกรณ์ไฟฟ้าในบ้านกินไฟฟ้ากี่วัตต์ และต้องจ่ายค่าไฟฟ้ากี่บาท/ชั่วโมง!?

ตู้เย็นกินไฟ เท่าไหร่

 

หลังจากที่ทราบวิธีการสังเกตปริมาณของวัตต์ไฟฟ้าของอุปกรณ์ไฟฟ้ากันไปแล้ว คราวนี้เรามาดูกันดีกว่าว่าอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มักใช้กันบ่อยในครัวเรือน และตู้เย็นนั้นกินไฟฟ้าประมาณกี่วัตต์กัน!?

 

อุปกรณ์ไฟฟ้า ขนาด กินไฟกี่วัตต์ จำนวนเงิน (บาท/ชั่วโมง)
พัดลมดูดอากาศ ใบพัดแบบ 6 นิ้ว 25 0.075
พัดลมตั้งโต๊ะ ใบพัดแบบ 12 นิ้ว 70 0.21
ทีวีขาวดำ 14 นิ้ว 50 0.15
ทีวีสี 14 นิ้ว 120 0.36
ทีวีสี 20 นิ้ว 200 0.60
ทีวีสี 24 นิ้ว 250 0.75
เครื่องปรับอากาศ 1.00 ตัน 1,450 3.35
เครื่องปรับอากาศ 1.50 ตัน 2,060 6.18
เครื่องปรับอากาศ 2.00 ตัน 3500 10.50
เครื่องปรับอากาศ 3.00 ตัน 5200 15.60
ตู้เย็น 4 คิว 70 0.21
ตู้เย็น 6 คิว 90 0.27
ตู้เย็น 12 คิว 240 0.72
หม้อหุงข้าวไฟฟ้า 6 ถ้วย 500 1.50
หม้อหุงข้าวไฟฟ้า 10 ถ้วย 600 1.80
เตารีดไฟฟ้า มาตรฐาน 1000 3.00
เครื่องทำน้ำร้อน เล็ก 1500 4.50
เครื่องทำน้ำร้อน กลาง 2200 6.60
เครื่องทำน้ำร้อน ใหญ่ 4000 12.00
เครื่องซักผ้า มาตรฐาน 1000 3.00

 

เทคนิคการใช้ตู้เย็น และอุปกรณ์ไฟฟ้าให้ประหยัดไฟฟ้ามากที่สุด

ตู้เย็นกินไฟ เท่าไหร่

 

1.เลือกใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5

 

เป็นเรื่องพื้นฐานที่ควรให้ความใส่ใจเป็นอันดับแรกก่อนทำการซื้อตู้เย็น หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ เพราะฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 เป็นสิ่งที่ช่วยการันตีว่าอุปกรณ์ไฟฟ้าชิ้นนั้น ช่วยในการประหยัดพลังงาน และลดค่าใช้จ่ายรายปีให้น้อยลงได้เป็นอย่างมากเลยทีเดียว

 

2.เลือกจุดวางเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างเหมาะสม

 

จุดวางในขณะที่อุปกรณ์ไฟฟ้าทำงานเป็นเรื่องที่สำคัญ แต่คนทั่วไปกลับมองข้ามไปอย่างน่าเสียดาย เพราะถ้าหากวางตู้เย็นไว้ในที่ที่ร้อนจัด มีแสงแดดส่องเข้ามากระทบตลอดเวลาตู้เย็นก็ต้องทำงานมากขึ้นเพื่อรักษาความเย็นภายใน ในขณะเดียวกันการระบายความร้อนของเครื่องก็จะด้อยลงตามไปด้วย และถ้าหากวางตู้เย็นไว้ในสถานที่ที่มีความชื้นสูงก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ตู้เย็นเกิดการชำรุดได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้นอีกด้วย

 

3.หมั่นตรวจสอบสภาพของอุปกรณ์ไฟฟ้าให้มีความพร้อมสมบูรณ์อยู่เสมอ

 

หากอุปกรณ์ไฟฟ้าเกิดความชำรุด โดยเฉพาะตู้เย็นที่คอมเพรสเซอร์เสียหาย ระบบละลายน้ำแข็งชำรุด หรือขอบยางปิดประตูเสื่อมสภาพจนทำให้ไม่สามารถปิดประตูได้อย่างสนิท สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ตู้เย็นทำงานหนักมากขึ้นโดยไม่จำเป็น ส่งผลให้กินจำนวนไฟฟ้ามากขึ้นกว่าปกติอีกด้วย

 

 

บทความแนะนำ