ตู้เย็นช่องธรรมดา อุณหภูมิเท่าไหร่

ตู้เย็นช่องธรรมดามี 6 ชั้น แต่ละชั้น อุณหภูมิเท่าไหร่
เหมาะกับการแช่อะไรบ้างมาดูกัน..

ตู้เย็นช่องธรรมดา อุณหภูมิเท่าไหร่

 

  ตู้เย็น.. เป็นอุปกรณ์ทำความเย็นเพื่อช่วยในการเก็บถนอมอาหารที่ทุกบ้านต้องมี แต่คนส่วนใหญ่กลับแยกความแตกต่างของช่องแช่เย็นธรรมดา ที่มักถูกแบ่งออกมาเป็นสัดส่วนไม่ค่อยถูกต้องสักเท่าไหร่นัก เนื่องจากหลายคนอาจไม่เคยทราบมาก่อนว่าช่องแช่เย็นธรรมดาเหล่านี้  ได้ถูกออกแบบมาเพื่อให้มีอุณหภูมิที่แตกต่างกัน ให้มีความเหมาะสมกับอาหารหรือสิ่งของที่ต้องการถนอมเก็บรักษาเอาไว้ให้ดีที่สุด สำหรับตู้เย็นช่องธรรมดาแต่ละส่วนจะมีอุณหภูมิเท่าไหร่ และเหมาะกับการแช่อะไรกันบ้างนั้น บทความนี้ มีคำตอบให้หายความสงสัยได้อย่างแน่นอน..

 

 

ตู้เย็นธรรมดาแต่ละช่อง แต่ละชั้น อุณหภูมิเท่าไหร่ เหมาะกับอาหารประเภทใดบ้าง!?

ตู้เย็นช่องธรรมดา อุณหภูมิเท่าไหร่

 

1.ตู้เย็นช่องธรรมดาชั้นล่างสุด อุณหภูมิ 7-10 องศา

 

ชั้นล่างสุดของตู้เย็นจะมีลักษณะเป็นเหมือนกับกล่องใส่ของ เหมาะกับการแช่ผัก และผลไม้ เนื่องจากพื้นที่กล่องแบบปิดจะช่วยรักษาความชื้นของผัก ผลไม้ ให้มีความยาวนานมากขึ้นกว่าเดิม นอกจากนี้คุณค่าทางโภชนาการ วิตามิน แร่ธาตุ ของผักผลไม้เหล่านี้ ก็จะยังคงอยู่อย่างครบถ้วนเลยทีเดียว

 

2.ตู้เย็นช่องธรรมดาชั้นรองจากช่องแช่แข็ง อุณหภูมิ 0-2 องศา

 

เป็นช่องที่เหมาะกับการเก็บเนื้อสัตว์มากที่สุด ด้วยอุณหภูมิดังกล่าวจะช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย นอกจากนี้ยังมีลักษณะที่เหมาะกับการนำไปประกอบอาหารได้อย่างง่ายดายมากกว่าการนำไปแช่แข็งเอาไว้ ซึ่งจำเป็นต้องนำมาละลายน้ำแข็งก่อนนำไปปรุงอาหารนั่นเอง

 

ตู้เย็นช่องธรรมดา อุณหภูมิเท่าไหร่

 

3.ตู้เย็นช่องแช่แข็ง อุณหภูมิ ต่ำกว่า 0 องศา

 

ช่องแช่แข็งเหมาะกับการใช้แช่อาหารแช่แข็ง หรือยืดอายุวัตถุดิบให้นาวนานมากขึ้น แต่ถ้าหากต้องการที่จะทำการแช่แข็งอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ขอแนะนำว่าควรเก็บเอาไว้ในภาชนะที่ปิดฝาอย่างเช่นกล่องพลาสติกอย่ามิดชิด ก่อนที่จะนำไปทำการแช่แข็งจะดีกว่า

 

4.ตู้เย็นช่องธรรมดาชั้นกลาง อุณหภูมิ 5-7 องศา

 

เหมาะกับการแช่ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม และอาหารเกือบทุกประเภท รวมไปถึงบรรดาอาหารกระป๋อง เพราะเป็นอุณหภูมิที่มีความเหมาะสมในการรักษาคุณค่าทางโภชนาการอาหารได้เป็นอย่างดี

 

ตู้เย็นช่องธรรมดา อุณหภูมิเท่าไหร่

 

5.ตู้เย็นช่องธรรมดาส่วนประตูชั้นกลางและชั้นล่าง อุณหภูมิ 10-15 องศา

 

บริเวณชั้นของประตู เหมาะกับการแช่เครื่องดื่มประเภทต่างๆ นอกจากนี้ชั้นวางของยังได้รับการออกแบบมาเพื่อให้ง่ายต่อการหยิบเครื่องดื่มได้อย่างสะดวกอีกด้วย

 

6.ตู้เย็นช่องธรรมดาส่วนของประตูชั้นบน อุณหภูมิ 0-5 องศา

 

เป็นบริเวณที่เหมาะอย่างมากในการเก็บรักษาความสด และคุณค่าทางอาหารรของไข่ได้อย่างยาวนานมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีความเหมาะสมอย่างมากในการเก็บรักษาน้ำนมของแม่ ที่จำเป็นจะต้องได้รับการรักษาคุณภาพเอาไว้ด้วยความใส่ใจที่มากเป็นพิเศษอีกด้วย สำหรับการวิธีการรักษาน้ำนมแม่นั้น มีข้อพึงปฏิบัติที่ควรทราบ ดังต่อไปนี้

 

วิธีการเก็บรักษาน้ำนมของแม่อย่างเหมาะสม

ตู้เย็นช่องธรรมดา อุณหภูมิเท่าไหร่

 

การเก็บรักษาน้ำนมแม่สามารถทำได้โดยใช้เพียงตู้เย็นธรรมดา ด้วยการเก็บเอาไว้ในภาชนะ หรือถุงสำหรับทำการเก็บรักษาน้ำนมแม่โดยเฉพาะ พร้อมกับแบ่งปริมาณเอาไว้ให้เพียงพอกับการทานของลูกน้อยในแต่ละครั้ง สำหรับอุณหภูมิในตู้เย็นที่เหมาะสมในการเก็บรักษาน้ำนมของแม่นั้น สามารถตรวจสอบได้จากตารางดังต่อไปนี้

 

สถานที่เก็บน้ำนม อุณหภูมิที่เหมาะสม ระยะเวลาในการจัดเก็บ
ตั้งทิ้งเอาไว้ในห้อง 27-30 องศา 3-4 ชม.
ตั้งทิ้งเอาไว้ในห้อง 16-26 องศา 4-8 ชม.
กระติกเก็บความเย็นใส่น้ำแข็ง 15 องศา 24 ชม.
ตู้เย็นช่องธรรมดา 0-4 องศา 3-8 วัน
ช่องแช่แข็ง (ตู้เย็นประตูเดียว) 0 - -4 องศา 2 สัปดาห์
ช่องแช่แข็ง (ตู้เย็นสองประตู) -4 4-6 เดือน
ช่องแช่แข็ง / ตู้เย็น ประเภทพิเศษ -19 องศา 6-12 สัปดาห์

 

สิ่งที่ควรทราบในการนำน้ำนมแม่มาใช้งานหลังจากที่ทำการแช่เย็น

ตู้เย็นช่องธรรมดา อุณหภูมิเท่าไหร่

 

1.เมื่อต้องการนำน้ำนมแม่มาใช้หลังการแช่แข็ง

 

ทำการละลายน้ำนม ด้วยการเปลี่ยนมาแช่ในช่องธรรมดา 12-24 ชม. ก่อนนำมาใช้

 

2.การป้อนน้ำนมแช่เย็นให้กับลูกน้อย

 

  • หากลูกน้อยชอบนมเย็น ให้ทำการบรรจุน้ำนมลงในขวด แกว่งเบาๆเป็นวงกลมเพื่อให้ไขมันที่แยกชั้นจากความเย็นละลายกลับเข้าไปเป็นเนื้อเดียวกัน
  • หากลูกน้อยชอบนมอุ่น ให้บรรจุน้ำนมลงขวดและนำไปแช่ในน้ำอุ่น ห้ามใช้น้ำร้อนจัด หรืออุ่นโดยไมโครเวฟอย่างเด็ดขาด

 

ตู้เย็นช่องธรรมดา อุณหภูมิเท่าไหร่

 

3.ไม่ควรปล่อยให้น้ำนมละลายตัวเองตามธรรมชาติ

 

หากต้องการให้น้ำนมละลายตัวอย่างเหมาะสม ควรนำไปบรรจุขวดแล้วแช่ในน้ำอุณหภูมิปกติ หรือแช่ในน้ำอุ่น

 

4.น้ำนมที่แช่ในถุงเก็บจะมีการละลายตัวรวดเร็วมากกว่าในขวด

 

ดังนั้น การนำน้ำนมไปละลาย จำเป็นที่จะต้องให้ความใส่ใจในเรื่องระยะเวลาของการแช่ให้มีความเหมาะสม

 

ตู้เย็นช่องธรรมดา อุณหภูมิเท่าไหร่

 

5.น้ำนมที่ทำการละลายน้ำแข็งแล้วมีอายุใช้งาน 24 ชั่วโมง

 

หรือเพียงพอกับการใช้ป้อนลูกน้อยในมื้อต่อไปเท่านั้น และหลังจากระยะเวลาดังกล่าวไม่ควรนำมาป้อนลูกน้อยอย่างเด็ดขาด เพื่อสุขภาพที่ดีของเจ้าตัวเล็ก

 

6.ไม่ควรนำน้ำนมที่ละลายน้ำแข็งแล้วกลับไปแช่เย็นอีกครั้ง

 

เพื่อสุขภาพที่ดีของเจ้าตัวเล็ก โปรดหลีกเลี่ยงการนำนมที่ทำการละลายน้ำแข็งแล้วกลับไปแช่แข็งเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่อีกครั้ง

 

บทความแนะนำ