ตู้เย็นกินไฟฟ้ากี่วัตต์!?
สำหรับคนช่างสงสัย.. หลังจากที่ได้เห็นตู้เย็นเปิดใช้งานเพื่อรักษาของสดเอาไว้ตลอด 24 ชั่วโมง อาจทำให้เกิดความสงสัยขึ้นมาว่าตู้เย็นกินไฟฟ้ากี่วัตต์ แล้วถ้าเปิดทิ้งเอาไว้ตลอดเวลาทุกวัน ต้องเสียค่าไฟฟ้ารายปีประมาณเท่าไหร่กัน!? ถ้าหากใครกำลังมีปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นมารบกวนภายในใจ ขอแนะนำให้อ่านบทความชิ้นนี้ให้จบ รับรองว่าม่านหมอกแห่งความสงสัยเหล่านั้นจะถูกปัดเป่าให้หายไปอย่างหมดสิ้นได้อย่างแน่นอน..
มาทำความเข้าใจกันก่อนว่ากำลังไฟฟ้าคืออะไร 1 หน่วย คำนวณอย่างไร!?
“วัตต์” หรือ แรงเทียน เป็นหน่วยที่ใช้ในการวัดกำลังการใช้ฟ้าของอุปกรณ์ชิ้นนั้น โดยอุปกรณ์ที่มีจำนวนของวัตต์มาก ก็จะกินไฟฟ้ามากกว่าอุปกรณ์ที่มีจำนวนของวัตต์ที่น้อยกว่าเมื่อทำการเปิดใช้งานในระยะเวลาที่เท่ากัน
*1 กิโลวัตต์ = 1,000 วัตต์ = 1 หน่วย = 1 ยูนิต
ในบิลค่าไฟฟ้านั้น จะมีการแจ้งจำนวนวัตต์ในการใช้ไฟฟ้าเป็น หน่วย หรือยูนิต เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจของผู้ใช้นั่นเอง..
อัตราค่าไฟฟ้า / วัตต์ปกติ จากการใช้ไม่เกิน 150 หน่วย ต่อเดือน
ในปัจจุบันค่าใช้จ่ายในการใช้ไฟฟ้าต่อเดือน ที่ไม่เกิน 150 หน่วยนั้น มีรายละเอีอดที่ควรทราบ เพื่อให้ช่วยในการคำนวณค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการใช้งานตู้เย็น ดังต่อไปนี้
*ค่าบริการ 8.19 บาท / เดือน
จำนวนหน่วยไฟฟ้า (กิโลวัตต์) | อัตราค่าไฟฟ้า หน่วยละ / บาท |
1-15 หน่วย | 1.8632 |
16-25 | 2.5026 |
26-35 | 2.7549 |
36-100 | 3.1381 |
101-150 | 3.2315 |
151-400 | 3.7362 |
401 เป็นต้นไป | 3.9361 |
ตู้เย็นและเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านกินไฟประมาณกี่วัตต์กัน!?
เครื่องใช้ไฟฟ้า | จำนวนไฟฟ้าที่ใช้ (วัตต์ / ชม.) |
ตู้เย็น ขนาด 2-12 คิว | 53 -194 |
พัดลมตั้งพื้น | 45-75 |
พัดลมเพดาน | 70-104 |
หม้อหุงข้าวไฟฟ้า | 430-1,000 |
เตารีดไฟฟ้า | 430-1600 |
เครื่องทำน้ำอุ่น | 900-4,800 |
เครื่องปิ้งขนมปัง | 600-1,000 |
ไดร์เป่าผม | 300-1,300 |
เครื่องซักผ้า | 250-2,000 |
เครื่องซักผ้า / อบแห้ง / (ตั้งอุณหภูมิน้ำได้) | 250 - 2,000 |
เครื่องปรับอากาศ | 680-3,300 |
เครื่องดูดฝุ่น | 625-1,000 |
เตาไฟฟ้า แบบเตาเดี่ยว | 300-1,500 |
โทรทัศน์ (ขาว-ดำ) | 24-30 |
โทรทัศน์ (สี) | 43-95 |
เครื่องเล่นวีดิโอ | 30-50 |
เครื่องอบแห้งผ้า | 650-2,500 |
เลือกซื้อตู้เย็นแบบไหน ประหยัดค่าไฟฟ้าได้มากที่สุด
การเลือกตู้เย็นประหยัดไฟฟ้าที่ดีที่สุด และง่ายดายมากที่สุดก็คือการเลือกตู้เย็นที่ได้รับการรับรองจากฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 เพราะไม่ว่าตู้เย็นที่คุณกำลังสนใจอยู่จะกินไฟฟ้ากี่วัตต์ก็ตาม การเลือกแบบฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 ก็สามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นได้เป็นอย่างดีอย่างแน่นอน สำหรับรายละเอียดของค่าไฟฟ้าของตู้เย็นของฉลากประหยัดไฟแต่ละเบอร์นั้น มีความแตกต่างกัน ดังต่อไปนี้
- ตู้เย็นที่มีฉลากประหยัดไฟเบอร์ 3 = ใช้ไฟฟ้าประมาณ 332 หน่วย / ปี ค่าไฟฟ้าประมาณ 840 บาท / ปี
- ตู้เย็นที่มีฉลากประหยัดไฟเบอร์ 4 = ใช้ไฟฟ้าประมาณ 262 หน่วย / ปี ค่าไฟฟ้าประมาณ 644 บาท / ปี
- ตู้เย็นที่มีฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 = ใช้ไฟฟ้าประมาณ 220 หน่วย / ปี ค่าไฟฟ้าประมาณ 573 บาท / ปี
จากอัตราของค่าไฟฟ้า และหน่วยของไฟฟ้าที่ได้ยกตัวอย่างไปแล้วในตอนต้นจะเห็นได้ว่า ตู้เย็นที่มีฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 นั้น มีความประหยัดมากกว่า คุ้มค่า สมกับราคาที่จ่ายไปในระยะยาวมากกว่าตู้เย็นแบบอื่น ดังนั้น เพื่อเป็นการประหยัดมากที่สุด ก็ไม่มีเหตุผลใดที่จะไม่เลือกตู้เย็นประหยัดไฟแบบเบอร์ 5 นั่นเอง
ตู้เย็นกินไฟฟ้ามากกว่าปกติหลายวัตต์ เกิดขึ้นจากอะไร!?
สำหรับคนที่เกิดปัญหาใช้งานตู้เย็น แม้จะเลือกแบบฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 แต่ก็ยังไม่วายเกิดปัญหากินพลังงานไฟฟ้ามากกว่าปกติ อาจเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัยที่ควรทราบ ดังต่อไปนี้
1.อุปกรณ์ของตู้เย็นและสายไฟเกิดการชำรุด
ทำให้พลังงานไฟฟ้าเกิดการรั่วไหล จนกระทั่งทำให้เกิดปัญหาการใช้ไฟฟ้าที่มากขึ้นกว่าปกติ ถ้าหากไม่ได้รับการตรวจสอบ และทำการซ่อมแซมอย่างเหมาะสมนอกจากจะสิ้นเปลืองค่าไฟฟ้าหลายวัตต์แล้ว ยังอาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นในระหว่างการใช้งานได้อีกด้วย
2.การปิดประตูตู้เย็นไม่สนิท
การปิดตู้เย็นหลังจากที่เปิดหยิบของภายใน เป็นอีกหนึ่งในปัญหาค่าไฟฟ้าที่มากขึ้น อันเนื่องมาจากการที่ตู้เย็นพยายามสร้างความเย็นทดแทนส่วนที่เสียไปอยู่ตลอดเวลา ซึ่งการปิดตู้เย็นไม่สนิทอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุอาทิเช่น
- พื้นที่ในการจัดวางไม่เรียบ มีลักษณะเอียงไปด้านหน้าทำให้ประตูไม่สนิท
- ขอบยางประตูเสื่อมสภาพ ทำให้ไม่สามารถปิดประตูได้สนิท
- สิ่งของภายในกีดขวาง ค้ำการปิดประตู ทำให้ประตูปิดไม่สนิท