เลือกตู้เย็นขนาดกี่คิวดี!? แบบ 3,4.5,4.9, 5.2, 6, 6.5,7,8,9,12,14,15,20 อันไหนเหมาะสุด

ตู้เย็นกี่คิวดี 3,4.5,4.9, 5.2, 6, 6.5,7,8,9,12,14,15,20 ราคา

 

การเลือกซื้อตู้เย็นโดยทำการอ้างอิงจากขนาดของความจุนั้น เป็นหนึ่งในเกณฑ์การเลือกซื้อตู้เย็นแบบพื้นฐานได้อย่างง่ายดายมากขึ้น โดpมีหลักในการเลือก โดยอ้างอิงจากจำนวนของสมาชิกภายในบ้าน ดังต่อไปนี้

  • อาศัยอยู่ลำพังคนเดียว ควรเลือกตู้เย็นขนาด 3,4.5,4.9 และ 5.2 คิว
  • สมาชิก 2-3 คน ควรเลือกตู้เย็นขนาด 6, 6.5, 7 , 8 และ 9 คิว
  • สมาชิก 4-5 คน ควรเลือกตู้เย็นขนาด 12,14 และ 15 คิว
  • สมาชิก 6 คน ขึ้นไป ควรเลือกตู้เย็นอย่างน้อย 15 คิว ขึ้นไป

นอกจากนี้ ยังควรนำพฤติกรรมในการแช่อาหารเข้ามาร่วมเป็นข้อมูลเพื่อคำนวณหาขนาดคิวของตู้เย็นอย่างเหมาะสมมากขึ้น เช่น หากมีการซื้ออาหาร ของสดมาทำอาหารบ่อย ก็ควรเลือกตู้เย็นที่มีขนาดคิวมากขึ้น และควรเลือกตู้เย็นแบบ 2 ประตู ที่จะช่วยประหยัดพลังงานมากกว่าตู้เย็นแบบประตูเดียวที่เสียพลังงานได้มากกว่านั่นเอง..

 

ตู้เย็นขนาด 3,4.5,4.9, 5.2, 6, 6.5,7,8,9,12,14,15,20 คิว ราคาเท่าไหร่กัน!?

ตู้เย็นกี่คิวดี 3,4.5,4.9, 5.2, 6, 6.5,7,8,9,12,14,15,20 ราคา

 

เมื่อทราบกันไปแล้วว่าตู้เย็นขนาดกี่คิว ที่เหมาะสมกับตัวเองมากที่สุด คราวนี้มาลองดูกันดีกว่าตู้เย็นขนาด 3,4.5,4.9, 5.2, 6, 6.5,7,8,9,12,14,15,20 ราคาในปัจจุบัน (อัพเดท 2019) มีราคาประมาณเท่าไหร่กัน!?

 

ราคาของตู้เย็นขนาด 3,4.5,4.9, 5.2, 6, 6.5,7,8,9,12,14,15 และ 20 คิว อ้างอิงจากเว็บไซต์ Power Buy

 

ขนาดของตู้เย็น ราคา (ประมาณ) / บาท
3 คิว 5,190
4.5 คิว 5,290
4.9 คิว 5,290
5.2 คิว 4,790 – 5,590
6 คิว 5,590
6.5 คิว 5,790 – 5,880
7 คิว 7,990
8 คิว 8,290 - 9,190
9 คิว 12,990
12 คิว 8,990 - 19,990
14 คิว 12,990 – 19,990
15 คิว 15,990 – 18,990
20 คิว 26,400 - 37,900

 

เคล็ดลับติดตั้งตู้เย็นอย่างไรให้ประหยัดพลังงานมากที่สุด

ตู้เย็นกี่คิวดี 3,4.5,4.9, 5.2, 6, 6.5,7,8,9,12,14,15,20 ราคา

 

ติดตั้งตู้เย็นบนพื้นเรียบ

 

การติดตั้งตู้เย็นบนพื้นที่เรียบ มั่นคง และมีความแข็งแรง ช่วยป้องกันไม่ให้ตู้เย็นเกิดการสั่นในขณะที่กำลังทำงาน ทำให้ตู้เย็นไม่ทำงานหนักมากจนเกินไป แต่ถ้าหากพื้นห้อง หรือพื้นที่ในการติดตั้งตู้เย็นไม่เรียบ ควรทำการปรับระดับขาหมุนของตู้เย็นเพื่อให้มีความมั่นคงมากขึ้น

 

ติดตั้งตู้เย็นในพื้นที่ที่มีอากาศถ่ายเทตลอดเวลา

 

ควรติดตั้งตู้เย็นให้มีพื้นที่ว่างด้านบนห่างจากเพดานของห้องอย่าน้อย 30 ซม. ด้านหลัง 15 ซม. และด้านข้าง 10 ซม. การติดตั้งดังกล่าวจะช่วยทำให้คอมเพรสเซอร์ของตู้เย็นไม่ทำงานหนักจนเกินไป ซึ่งจะช่วยประหยัดพลังงานให้น้อยลงได้เป็นอย่างดี

 

ตู้เย็นกี่คิวดี 3,4.5,4.9, 5.2, 6, 6.5,7,8,9,12,14,15,20 ราคา

 

ติดตั้งตู้ตู้เย็นในพื้นที่แห้ง ห่างไกลจากความชื้น

 

ความชื้น เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาอุปกรณ์ภายในชำรุด และอาจทำให้เกิดปัญหาไฟฟ้ารั่วที่เป็นอันตรายกับผู้ใช้งานอีกด้วย

 

ติดตั้งตู้เย็นให้ห่างจากแสงแดดและความร้อน

 

ความร้อน เป็นศัตรูสำคัญที่ทำให้ตู้เย็นระบายความร้อนจากการทำงานไม่สำเร็จ ทำให้ตู้เย็นทำงานหนักมากจนเกินไป และควรหลีกเลี่ยงการใช้ผ้าคลุมตู้เย็นตลอดเวลา เพราะจะยิ่งทำให้ตู้เย็นไม่สามารถระบายความร้อนได้นั่นเอง

 

ติดตั้งตู้เย็นด้วยการแยกปลั๊กไฟฟ้าออกจากอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่น

 

เพื่อเป็นการป้องกันไฟกระชาก ควรทำการแยกปลั๊กไฟฟ้าของตู้เย็นออกมาต่างหาก ไม่ใช้รวมกับอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่น

 

ติดตั้งตู้เย็นพร้อมกับใช้งานสายดิน

 

ควรทำการติดตั้งสายดินทุกครั้ง เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้มากขึ้นในขณะที่ใช้งาน โดยสายดินควรทำการฝั่งลึกลงไปในดินอย่างน้อย 2.4 เมตร

 

ตู้เย็นกี่คิวดี 3,4.5,4.9, 5.2, 6, 6.5,7,8,9,12,14,15,20 ราคา

 

ติดตั้งตู้เย็นหลังจากทำการขนย้ายอย่างถูกต้อง

 

เมื่อทำการขนย้ายตู้เย็น ยังไม่ควรใช้งานในทันที ควรพักเครื่องเอาไว้ประมาณ 3-6 ชั่วโมง เพื่อให้น้ำยาทำความเย็นที่มีการเคลื่อนตัวในขณะที่ทำการขนย้ายกลับมาอยู่ในสภาวะที่เสถียรเสียก่อน

 

ติดตั้งเครื่องควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม

 

ควรให้ความสนใจกับเครื่องตั้งอุณหภูมิในตู้เย็นให้มีความเหมาะสมอยู่เสมอ เพราะการตั้งอุณหภูมิเอาไว้อย่างพอเหมาะ จะเป็นการช่วยประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้เป็นอย่างดี

 

เคล็ดลับเพิ่มเติมที่ควรทำอย่างสม่ำเสมอทุกวันเพื่อช่วยในการประหยัดค่าไฟฟ้าให้มากขึ้น

ตู้เย็นกี่คิวดี 3,4.5,4.9, 5.2, 6, 6.5,7,8,9,12,14,15,20 ราคา

 

หมั่นละลายน้ำแข็งอย่างสม่ำเสมอ

 

อย่าลืมทำการละลายน้ำแข็งในช่องแช่แข็งอย่างสม่ำเสมอ หรือเลือกตู้เย็นที่มีระบบละลายน้ำแข็งโดยอัตโนมัติ

 

หมั่นตรวจสอบของยางที่ประตูตู้เย็น

 

หากขอบยางของประตู ตู้เย็นเกิดการเสื่อมสภาพ มีรอยรั่ว หรือปิดไม่สนิท ก็จะส่งผลให้ตู้เย็นพยายามสร้างความเย็นทดแทนในส่วนที่เสียไป จนกลายเป็นการทำงานที่หนักมากขึ้นกว่าเดิมนั่นเอง

 

หมั่นทำความสะอาดแผงระบายความร้อน

 

สิ่งสกปรกต่างๆที่เข้าไปเกาะ หรืออุดตันแผงระบายความร้อนจะทำให้ตู้เย็นไม่สามารถระบายความร้อนได้อย่างเหมาะสม ส่งผลให้ตู้เย็นพยายามทำงานหนักกระทั่งสิ้นเปลืองค่าไฟฟ้ามากขึ้นนั่นเอง

 

บทความแนะนำ