เลือกตู้เย็นขนาดกี่คิวดี!? แบบ 3,4.5,4.9, 5.2, 6, 6.5,7,8,9,12,14,15,20 อันไหนเหมาะสุด
การเลือกซื้อตู้เย็นโดยทำการอ้างอิงจากขนาดของความจุนั้น เป็นหนึ่งในเกณฑ์การเลือกซื้อตู้เย็นแบบพื้นฐานได้อย่างง่ายดายมากขึ้น โดpมีหลักในการเลือก โดยอ้างอิงจากจำนวนของสมาชิกภายในบ้าน ดังต่อไปนี้
- อาศัยอยู่ลำพังคนเดียว ควรเลือกตู้เย็นขนาด 3,4.5,4.9 และ 5.2 คิว
- สมาชิก 2-3 คน ควรเลือกตู้เย็นขนาด 6, 6.5, 7 , 8 และ 9 คิว
- สมาชิก 4-5 คน ควรเลือกตู้เย็นขนาด 12,14 และ 15 คิว
- สมาชิก 6 คน ขึ้นไป ควรเลือกตู้เย็นอย่างน้อย 15 คิว ขึ้นไป
นอกจากนี้ ยังควรนำพฤติกรรมในการแช่อาหารเข้ามาร่วมเป็นข้อมูลเพื่อคำนวณหาขนาดคิวของตู้เย็นอย่างเหมาะสมมากขึ้น เช่น หากมีการซื้ออาหาร ของสดมาทำอาหารบ่อย ก็ควรเลือกตู้เย็นที่มีขนาดคิวมากขึ้น และควรเลือกตู้เย็นแบบ 2 ประตู ที่จะช่วยประหยัดพลังงานมากกว่าตู้เย็นแบบประตูเดียวที่เสียพลังงานได้มากกว่านั่นเอง..
ตู้เย็นขนาด 3,4.5,4.9, 5.2, 6, 6.5,7,8,9,12,14,15,20 คิว ราคาเท่าไหร่กัน!?
เมื่อทราบกันไปแล้วว่าตู้เย็นขนาดกี่คิว ที่เหมาะสมกับตัวเองมากที่สุด คราวนี้มาลองดูกันดีกว่าตู้เย็นขนาด 3,4.5,4.9, 5.2, 6, 6.5,7,8,9,12,14,15,20 ราคาในปัจจุบัน (อัพเดท 2019) มีราคาประมาณเท่าไหร่กัน!?
ราคาของตู้เย็นขนาด 3,4.5,4.9, 5.2, 6, 6.5,7,8,9,12,14,15 และ 20 คิว อ้างอิงจากเว็บไซต์ Power Buy
ขนาดของตู้เย็น | ราคา (ประมาณ) / บาท |
3 คิว | 5,190 |
4.5 คิว | 5,290 |
4.9 คิว | 5,290 |
5.2 คิว | 4,790 – 5,590 |
6 คิว | 5,590 |
6.5 คิว | 5,790 – 5,880 |
7 คิว | 7,990 |
8 คิว | 8,290 - 9,190 |
9 คิว | 12,990 |
12 คิว | 8,990 - 19,990 |
14 คิว | 12,990 – 19,990 |
15 คิว | 15,990 – 18,990 |
20 คิว | 26,400 - 37,900 |
เคล็ดลับติดตั้งตู้เย็นอย่างไรให้ประหยัดพลังงานมากที่สุด
ติดตั้งตู้เย็นบนพื้นเรียบ
การติดตั้งตู้เย็นบนพื้นที่เรียบ มั่นคง และมีความแข็งแรง ช่วยป้องกันไม่ให้ตู้เย็นเกิดการสั่นในขณะที่กำลังทำงาน ทำให้ตู้เย็นไม่ทำงานหนักมากจนเกินไป แต่ถ้าหากพื้นห้อง หรือพื้นที่ในการติดตั้งตู้เย็นไม่เรียบ ควรทำการปรับระดับขาหมุนของตู้เย็นเพื่อให้มีความมั่นคงมากขึ้น
ติดตั้งตู้เย็นในพื้นที่ที่มีอากาศถ่ายเทตลอดเวลา
ควรติดตั้งตู้เย็นให้มีพื้นที่ว่างด้านบนห่างจากเพดานของห้องอย่าน้อย 30 ซม. ด้านหลัง 15 ซม. และด้านข้าง 10 ซม. การติดตั้งดังกล่าวจะช่วยทำให้คอมเพรสเซอร์ของตู้เย็นไม่ทำงานหนักจนเกินไป ซึ่งจะช่วยประหยัดพลังงานให้น้อยลงได้เป็นอย่างดี
ติดตั้งตู้ตู้เย็นในพื้นที่แห้ง ห่างไกลจากความชื้น
ความชื้น เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาอุปกรณ์ภายในชำรุด และอาจทำให้เกิดปัญหาไฟฟ้ารั่วที่เป็นอันตรายกับผู้ใช้งานอีกด้วย
ติดตั้งตู้เย็นให้ห่างจากแสงแดดและความร้อน
ความร้อน เป็นศัตรูสำคัญที่ทำให้ตู้เย็นระบายความร้อนจากการทำงานไม่สำเร็จ ทำให้ตู้เย็นทำงานหนักมากจนเกินไป และควรหลีกเลี่ยงการใช้ผ้าคลุมตู้เย็นตลอดเวลา เพราะจะยิ่งทำให้ตู้เย็นไม่สามารถระบายความร้อนได้นั่นเอง
ติดตั้งตู้เย็นด้วยการแยกปลั๊กไฟฟ้าออกจากอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่น
เพื่อเป็นการป้องกันไฟกระชาก ควรทำการแยกปลั๊กไฟฟ้าของตู้เย็นออกมาต่างหาก ไม่ใช้รวมกับอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่น
ติดตั้งตู้เย็นพร้อมกับใช้งานสายดิน
ควรทำการติดตั้งสายดินทุกครั้ง เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้มากขึ้นในขณะที่ใช้งาน โดยสายดินควรทำการฝั่งลึกลงไปในดินอย่างน้อย 2.4 เมตร
ติดตั้งตู้เย็นหลังจากทำการขนย้ายอย่างถูกต้อง
เมื่อทำการขนย้ายตู้เย็น ยังไม่ควรใช้งานในทันที ควรพักเครื่องเอาไว้ประมาณ 3-6 ชั่วโมง เพื่อให้น้ำยาทำความเย็นที่มีการเคลื่อนตัวในขณะที่ทำการขนย้ายกลับมาอยู่ในสภาวะที่เสถียรเสียก่อน
ติดตั้งเครื่องควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
ควรให้ความสนใจกับเครื่องตั้งอุณหภูมิในตู้เย็นให้มีความเหมาะสมอยู่เสมอ เพราะการตั้งอุณหภูมิเอาไว้อย่างพอเหมาะ จะเป็นการช่วยประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้เป็นอย่างดี
เคล็ดลับเพิ่มเติมที่ควรทำอย่างสม่ำเสมอทุกวันเพื่อช่วยในการประหยัดค่าไฟฟ้าให้มากขึ้น
หมั่นละลายน้ำแข็งอย่างสม่ำเสมอ
อย่าลืมทำการละลายน้ำแข็งในช่องแช่แข็งอย่างสม่ำเสมอ หรือเลือกตู้เย็นที่มีระบบละลายน้ำแข็งโดยอัตโนมัติ
หมั่นตรวจสอบของยางที่ประตูตู้เย็น
หากขอบยางของประตู ตู้เย็นเกิดการเสื่อมสภาพ มีรอยรั่ว หรือปิดไม่สนิท ก็จะส่งผลให้ตู้เย็นพยายามสร้างความเย็นทดแทนในส่วนที่เสียไป จนกลายเป็นการทำงานที่หนักมากขึ้นกว่าเดิมนั่นเอง
หมั่นทำความสะอาดแผงระบายความร้อน
สิ่งสกปรกต่างๆที่เข้าไปเกาะ หรืออุดตันแผงระบายความร้อนจะทำให้ตู้เย็นไม่สามารถระบายความร้อนได้อย่างเหมาะสม ส่งผลให้ตู้เย็นพยายามทำงานหนักกระทั่งสิ้นเปลืองค่าไฟฟ้ามากขึ้นนั่นเอง