ตู้เย็นขนาดเล็ก กลาง และใหญ่กินไฟฟ้าจำนวนวัตต์ต่างกันหรือเปล่า!?

 

ตู้เย็น 5 คิว กินไฟกี่วัตต์

 

หลายคนอาจสงสัยว่าขนาดของตู้เย็นเล็ก กลาง และใหญ่นั้น มีการกินไฟฟ้ากี่วัตต์ แล้วต่างกันมากหรือเปล่า!? คำตอบคือ ต่างกันอย่างแน่นอน แถมยังต่างกันอย่างเห็นได้ชัดอีกด้วย!!! เพราะยิ่งตู้เย็นมีขนาดที่ใหญ่มากขึ้นเท่าไหร่ นั่นก็หมายความว่าในส่วนของคอมเพรสเซอร์ก็ต้องมีขนาดที่ใหญ่มากขึ้นตามขนาดของพื้นที่ภายในของตู้เย็นนั่นเอง สำหรับคนที่อยู่คนเดียวการเลือกตู้เย็นขนาด 5 คิว เอง ก็เป็นหนึ่งในตัวเลือกที่ตอบโจทย์อย่างมากเลยทีเดียว

 

วิธีการคำนวณรายจ่ายเมื่อใช้ตู้เย็น หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ

 

ตู้เย็น 5 คิว กินไฟกี่วัตต์

 

          สำหรับคนที่อยากลองทำการคำนวณค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นด้วยตัวเองว่าตู้เย็นขนาด 4 5 6 คิว กินไฟฟ้าประมาณกี่วัตต์นั้น สามารถทำได้ด้วยตัวเองอย่างง่ายดาย ด้วยการแทนค่าสูตร ดังต่อไปนี้

 

          *ค่าไฟฟ้า = จำนวนวัตต์ x ค่าไฟฟ้าต่อหน่วย หารด้วย 1,000 = จำนวนเงินบาท / ชั่วโมง

 

ตัวอย่างการคำนวณค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากกินไฟของตู้เย็น (วัตต์)

 

ตู้เย็น 5 คิว กินไฟกี่วัตต์

 

อุปกรณ์ ขนาด กินไฟ (วัตต์) บาท / ชั่วโมง
ตู้เย็น 4 คิว 70 0.21
ตู้เย็น 5 คิว 70 - 80 0.21- 0.24
ตู้เย็น 6 คิว 90 0.27
ตู้เย็น 12 คิว 240 0.72

 

*จากสูตรการคำนวณในข้างต้นจะเห็นได้ว่า ตู้เย็นขนาด 5 คิว จะกินปริมาณไฟฟ้าอยู่ที่ประมาณ 0.24 หน่วยต่อชั่วโมง เมื่อทำการเปิดใช้งานเป็นเวลานาน 24 ชั่วโมง / วัน = 0.24 x 24 = 5.76 หน่วย / วัน และนำไปคำนวณกับอัตราค่าไฟฟ้า (ไฟบ้านอัตราปกติ ไม่เกิน 150 หน่วย/เดือน) ที่คิดหน่วยละ 2.3488 บาท = 13.529 บาท ต่อวัน นั่นหมายความว่าในหนึ่งปี การใช้งานตู้เย็นขนาด 5 คิว จะต้องเสียค่าไฟฟ้าเป็นจำนวน 4,938.085 บาท นั่นเอง...

 

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับอัตราการใช้พลังงานของตู้เย็นขนาด 5 คิว

 

ตู้เย็น 5 คิว กินไฟกี่วัตต์

 

ก่อนทำการซื้อตู้เย็นขนาด 5 คิว จะเห็นได้ว่ามีฉลากแสดงรายละเอียดการใช้พลังงานไฟฟ้าในแต่ละเดือน หรือปี กำกับอยู่ ซึ่งเป็นตัวเลขที่ค่อนข้างถูกจนทำให้หลายคนถึงกับดีใจว่าไม่ต้องสิ้นเปลืองค่าไฟฟ้าอีกต่อไป แต่ที่จริงแล้วตัวเลขดังกล่าว เป็นตัวเลขที่ทางผู้ผลิตได้ทำการทดสอบจากการแช่เพียงน้ำดื่มประมาณ 3 ขวดในตู้เย็นเท่านั้น ดังนั้น หากมีการแช่อาหารเอาไว้ในตู้เย็นมากเท่าไหร่ ปริมาณการสิ้นเปลืองค่าไฟฟ้าก็จะมากขึ้นตามไปด้วย และมักที่จะมากกว่าที่ฉลากได้ระบุเอาไว้นั่นเอง

 

บทความแนะนำ